วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

กติกายูโด

กติกายูโด
พื้นที่แข่งขัน
พื้นที่แข่งขันจะต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 14 x 14 เมตร และอย่างมากที่สุด 16 x 16 เมตร โดยจะปูด้วยตาตามิ หรือวัสดุอื่นที่ได้รับการรับรอง โดยทั่ว ๆ ไปจะเป็นสีเขียว
พื้นที่แข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เส้นแบ่งเขตทั้งสองนี้จะเรียกว่าเขตอันตราย จะมีสีที่เห็นได้ชัด โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะเป็นสีแดง กว้างประมาณ 1 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่แข่งขัน หรือจะใช้เส้นทาบติดเป็นสี่เหลี่ยมรอบบริเวณแข่งขันก็ได้
พื้นที่ภายในรวมทั้งเขตอันตรายจะเรียกว่า บริเวณแข่งขัน และมีบริเวณอย่างน้อย 9 x 9 เมตร หรืออย่างมาก 10 x 10 เมตร บริเวณนอกเขตอันตรายจะเรียกว่าบริเวณปลอดภัย และจะมีความกว้างประมาณ 3 เมตร (แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร)
เทปเหนียวสีแดงและสีขาว กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และยาว 25 เซนติเมตร จะต้องติดตรงกลางบริเวณที่แข่งขันในระยะห่างกัน 4 เมตร เพื่อเป็นที่ชี้แสดงให้ผู้เข้าแข่งขันทราบในการเริ่มและจบการแข่งขัน เทปสีแดงจะอยู่ข้างขวาของกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที และเทปสีขาวจะอยู่ข้างซ้ายของผู้ชี้ขาดบนเวที
บริเวณที่แข่งขันจะต้องอยู่บนพื้นที่ยืดหยุ่นได้หรือยกพื้น
เมื่อบริเวณที่แข่งขันสองบริเวณหรือมากกว่าใช้ติดต่อกัน อนุญาตให้ใช้บริเวณปลอดภัยติดต่อกันได้ แต่ต้องมีระยะ 3 เมตรเป็นอย่างน้อย
มีบริเวณว่างรอบบริเวณที่แข่งขันทั้งหมดอย่างน้อยอีก 50 เซนติเมตร
บทเพิ่มเติม (พื้นที่แข่งขัน)
ตาตามิ จะใช้วัสดุลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 183 x 91.5 เซนติเมตร หรือเล็กกว่าเล็กน้อย สุดแท้แต่ถิ่นแคว้นของประเทศญี่ปุ่น
ปัจจุบันนี้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีขนาดวัดได้ 1 x 2 เมตร ทำด้วยฟางข้าวอัดแน่น หรือส่วนมากจะใช้โฟมอัดแน่นก็ได้ เบาะนี้จะต้องแน่นเมื่อเหยียบและมีคุณสมบัติไม่กระเทือนในขณะที่นักกีฬาทำอูเกมิ เบาะจะต้องหุ้มด้วยแผ่นพลาสติกสีแดงหรือสีเขียว และจะต้องไม่ลื่นหรือหยาบเกินไป ซึ่งเบาะยูโดเมื่อปูต่อกันแล้วจะต้องเรียบสนิทไม่มีร่อง แน่น และไม่เลื่อนออกจากกัน
เวทียกพื้นต้องทำด้วยไม้แข็ง ซึ่งควรจะมีความยืดหยุ่นพอสมควร วัดได้ประมาณ 18 x 18 เมตร ไม่สูงเกินจากพื้น 50 เซนติเมตร

อุปกรณ์
1. เก้าอี้ และธง (ผู้ตัดสินข้างเวที)
ต้องมีเก้าอี้เบา ๆ สองตัวอยู่มุมนอกของบริเวณแข่งขันบนเขตปลอดภัยทแยงมุมตรงข้ามกันมุมละหนึ่งตัว โดยที่นั่งของผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องไม่บังกรรมการที่จดผลการแข่งขัน และป้ายคะแนนแจ้งผลการแข่งขัน ซึ่งมีธงสีแดงและสีขาวจะใส่อยู่ในซองติดกับเก้าอี้ของผู้ตัดสินข้างเวที
2. ป้ายบอกคะแนน
เวทีแข่งขันแต่ละเวทีจะต้องมีป้ายบอกคะแนน 2 ป้าย ตั้งทแยงมุมตรงข้ามกัน ป้ายนี้จะไม่สูงเกิน 90 เซนติเมตร และกว้างเกิน 2 เมตร อยู่นอกบริเวณแข่งขัน ซึ่งกรรมการผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ และผู้ชม ต้องเห็นได้ชัดเจน
คะแนนที่ถูกทำโทษจะเปลี่ยนเป็นคะแนนได้แต้มทันทีบนป้ายบอกคะแนน อย่างไรก็ตาม จะต้องทำป้ายที่แจ้งแสดงจำนวนที่ผู้เข้าแข่งขันถูกทำโทษด้วย
และต้องมีกากบาทสีแดงและสีขาวบนป้ายบอกคะแนน ซึ่งจะบอกการตรวจครั้งที่หนึ่งและสองของแพทย์
เมื่อใช้ป้ายคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะต้องมีป้ายคะแนนที่ใช้มือเปล่าเพื่อควบคุมด้วย
3. นาฬิกาจับเวลา ต้องมีดังต่อไปนี้
จับเวลาแข่งขัน 1 เรือน
จับเวลาโอซาเอะโกมิ 2 เรือน
สำรอง 1 เรือน
เมื่อใช้นาฬิกาจับเวลาอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีนาฬิกาที่ใช้ควบคุมด้วยมือเพิ่มขึ้นด้วย
4. ธง (ผู้จับเวลา) จะใช้ธงดังต่อไปนี้
สีเหลือง - เวลาแข่งขันหยุด
สีฟ้า - เวลาโอซาเอะโกมิ
ไม่จำเป็นต้องใช้ธงสีเหลืองและสีฟ้า เมื่อเครื่องจับเวลาอิเล็กทรอนิกส์แสดงการแข่งขัน และเวลาโอซาเอะโกมิกำลังใช้อยู่ อย่างไรก็ตาม ต้องมีธงเหล่านี้พร้อมไว้
5. สัญญาณเวลา
ต้องมีระฆังหนึ่งใบหรือเครื่องมือที่ดังได้ยินเหมือนกัน เพื่อให้กรรมการผู้ตัดสินทราบว่าหมดเวลาการแข่งขันที่กำหนด
6. สายคาดเอวสีแดงและสีขาว
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องคาดเอวด้วยสายสีแดงหรือสีขาวที่มีความกว้างอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ยาวพอที่จะพันรอบเอวได้หนึ่งรอบทับบนเข็มขัดวุฒิ และเมื่อคาดแล้วต้องให้เหลือปลาย 20 ถึง 30 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง (ผู้ถูกเรียกก่อนจะคาดสีแดง)
บทเพิ่มเติม (อุปกรณ์)
ที่นั่งของผู้จัดการแข่งขัน/ผู้จดคะแนน/ผู้ควบคุมเวลา ให้อยู่ไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้ ผู้จดคะแนนและผู้ควบคุมเวลาต้องหันหน้าเข้าหาผู้ตัดสิน และให้ผู้จดบันทึกการแข่งขันเห็นได้ชัด ระยะห่างของผู้ชมการแข่งขัน โดยทั่วไปแล้ว ไม่ควรให้ผู้ชมเข้าใกล้พื้นที่แข่งขันเกิน 3 เมตร
เครื่องจับเวลาและป้ายคะแนน
นาฬิกาต้องตั้งไว้ให้นายช่างที่รับผิดชอบเข้าตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ตลอดเวลา เช่น เวลาเริ่มและเวลาแข่งขัน ป้ายคะแนนต้องเป็นป้ายที่มีขนาดตามที่สหพันธ์นานาชาติกำหนดไว้ และพร้อมที่จะใช้งานตามที่ผู้ตัดสินต้องการได้ทันที ซึ่งป้ายคะแนนและเครื่องจับเวลาต้องใช้พร้อมกันกับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เกิดขัดข้อง
ป้ายคะแนนที่ใช้ด้วยมือ
ตัวอย่าง
เมื่อผ่ายขาวได้แต้มด้วยวาซา-อาริ และก็ถูกทำโทษด้วยจูอิ ฝ่ายแดงก็จะได้รับยูโกะทันที เนื่องจากผลการกระทำของฝ่ายขาว
กากบาทแดงและขาว
พื้นด้านหลังของป้ายคะแนนควรเป็นสีเขียว และมีกากบาทสีแดงและขาวตามสีของสายที่ผู้เข้าแข่งขันคาด
เครื่องแบบยูโด (ยูโดกี)
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมเครื่องแบบยูโด (ยูโดกี) ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. ทำด้วยผ้าฝ่ายที่แข็งแรงหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน และอยู่ในสภาพที่ดี (ไม่มีปริหรือขาด)
2. สีขาวหรือขาวหม่น
3. เครื่องหมายที่มีได้ คือ
4. เสื้อต้องยาวคลุมต้นขา และจะต้องไม่สั้นกว่ามือกำเมื่อยืดลงด้ายข้างลำตัวเต็มที่ ตัวเสื้อต้องกว้างพอที่จะดึงสองด้านให้ทับกันได้ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตรจากซี่โครงด้านหน้า แขนเสื้อต้องยาวถึงข้อมือหรือสูงกว่าข้อมือไม่เกิน 5 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างกว้าง 10 – 15 เซนติเมตรตลอดแขนเสื้อ (รวมทั้งผ้าพัน)
5. กางเกงไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ต้องยาวคลุมขาทั้งหมด และยาวอย่างมากถึงตาตุ่ม หรือสูงขึ้นจากตาตุ่มได้ 5 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างที่ขากางเกงได้ 10 – 15 เซนติเมตร (รวมทั้งผ้าพัน) ตลอดขากางเกง
6. เข็มขัดที่แข็งแรง กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร มีสีตรงตามวุฒิของผู้เข้าแข่งขันคาดบนเสื้อระดับเอว และผูกเป็นปมสี่เหลี่ยม แน่นพอที่จะไม่ให้เสื้อหลวมเกินไป และยาวพอที่จะพันเอวได้สองรอบ โดยมีปลายสองข้างเลยออกมาข้างละ 20 ถึง 30 เซนติเมตรเมื่อผูกแล้ว
7. ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหญิงจะต้องสวมเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นสีขาวหรือขาวหม่น ชั้นในมีความทนทานและยาวพอที่จะยัดใส่ในกางเกงได้
บทเพิ่มเติม (เครื่องแบบ)
ถ้ายูโดกีของผู้เข้าแข่งขันไม่ถูกต้องตามข้อบังคับนี้ กรรมการผู้ตัดสินต้องสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันเปลี่ยนเป็นยูโดก็ที่ถูกต้องกับข้อบังคับ
เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าแขนเสื้อของผู้เข้าแข่งขันตลอดทั้งแขนถูกต้องตามที่ต้องการ ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันยกแขนทั้งสองขึ้น ยึดตึงในระดับไหล่ นอกจากนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าแขนเสื้อกว้างตามที่ต้องกการหรือไม่ ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันยืดแขนตึงทั้งสองข้างมาทางด้านหน้า และงอแขนทั้งสองขึ้นตั้งศอก 90 องศา

อนามัย
1. ยูโดกีจะต้องสะอาด โดยปกติแล้วจะต้องแห้งและไม่มีกลิ่นที่ไม่ดี
2. เล็บเท้า เล็บมือ จะต้องตัดสั้น
3. อนามัยส่วนตัวของผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในเกณฑ์ดี
4. ผมยาวต้องผูกให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เป็นที่รำคาญแก่คู่ต่อสู้
บทเพิ่มเติม (อนามัย)
ผู้เข้าแข่งขันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามความต้องการของกฎข้อ 3 และ 4 จะถูกตัดสิทธิ์ห้ามแข่งขัน และจะให้คู่ต่อสู้ชนะโดยคิเค็น-กาซิ ตามข้อบังคับ “ข้างมากของสาม”
ผู้ชี้ขาดและเจ้าหน้าที่
โดยปกติการแข่งขันจะดำเนินไปโดยมีผู้ชี้ขาดบนเวทีหนึ่งคน และผู้ตัดสินข้างเวทีสองคน ผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินทั้งสามจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้บันทึกและผู้จับเวลา
บทเพิ่มเติม (เจ้าหน้าที่)
ผู้จับเวลา ผู้เขียนรายการและผู้บันทึก พร้อมทั้งผู้ช่วยฝ่ายเทคนิคต่าง ๆ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 21 ปี มีความชำนาญในการเป็นผู้ชี้ขาดแห่งชาติไม่ต่ำกว่า 3 ปี และมีความรู้เกี่ยวกับกติการการแข่งขันเป็นอย่างดี
คณะกรรมการจัดการแข่งขันต้องแน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดีก่อนปฏิบัติหน้าที่ และจะต้องมีกรรมการจับเวลาการแข่งขันอย่างน้อย 2 คน คือ คนหนึ่งจะเป็นคนจับเวลาแข่งขันที่แท้จริง และอีกคนหนึ่งมีความชำนาญเป็นพิเศษสำหรับโอซาเอะโกมิ
ถ้าเป็นไปได้ ควรจะต้องมีบุคคลที่สามตรวจสอบการจับเวลาของทั้งสองคน เพื่อป้องกันมิให้มีการผิดพลาดหรือหลงลืม
หน้าที่ของผู้จับเวลา (เวลาแข่งขันจริง) จะเริ่มทันทีที่ได้ยินคำสั่งฮายีเม่ะหรือโยซิ่ และหยุดเวลาทันทีที่ได้ยินคำสั่งมัตเต้ะ หรือโซโนมาม่ะ
ผู้จับเวลาโอซาเอะโกมิ จะเริ่มจับเวลาเมื่อได้ยินโอซาเอะโกมิ จะหยุดเวลาเมื่อได้ยินโซโนมาม่ะ และจะเริ่มจับเวลาอีกครั้งเมื่อได้ยินโยชิ่ หรือเมื่อได้ยินโทเกตะก็จะหยุดนาฬิกาแล้วแจ้งจำนวนวินาทีที่ผ่านไปให้ผู้ชี้ขาดบนเวทีทราบ หรือเมื่อหมดเวลาสำหรับโอซาเอะโกมิ (30 วินาทีเมื่อยังไม่มีการได้คะแนนมาก่อน หรือ 25 วินาทีเมื่อผู้ถูกปล้ำได้เสียวาซา-อาริ หรือเกโกกุไปแล้ว) แจ้งหมดเวลาโดยการให้สัญญาณ
ผู้จับเวลาโอซาเอะโกมิ จะยกธงสีฟ้าและหยุดนาฬิกาเมื่อได้ยินโซโน-มาม่ะ และจะเอาธงลงเมื่อได้ยิน โยชิ่
ผู้จับเวลา (เวลาแข่งขันจริง) จะยกธงสีเหลือง และหยุดเวลาเมื่อได้ยินคำสั่งมัตเต้ะ หรือโซโนมาม่ะ จะเอาธงลงพร้อมกับเริ่มเวลาเมื่อได้ยินฮายีเม่ะ หรือโยชิ่ เมื่อเวลาของการแข่งขันที่ได้กำหนดหมดลง ผู้จับเวลาจะต้องบอกผู้ชี้ขาดบนเวทีถึงความจริงในเรื่องนี้ โดยใช้เครื่องสัญญาณที่ได้ยินชัดเจน
ผู้บันทึกการแข่งขันต้องแน่ใจว่าได้เข้าใจและทราบถึงเครื่องหมาย และสัญญาณที่ใช้ในการแจ้งผลการแข่งขันเป็นอย่างดี
นอกเหนือไปจากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะต้องมีผู้บันทึกรายการแข่งขันทั่ว ๆ ไปอีกด้วย
ถ้าใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการต่าง ๆ จะเป็นดังเช่นอธิบายข้างต้น แต่เพื่อความแน่นอนจะต้องมีเครื่องบันทึกโดยใช้มือเตรียมพร้อมไว้ด้วย
ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งคนใดไม่ขึ้นไปประจำที่บนเวทีแข่งขัน เมื่อถูกเรียกสามครั้ง โดยเว้นระยะเรียกห่างกันครั้งละหนึ่งนาที จะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ทำการแข่งขัน
ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ชี้ขาดบนเวที
ผู้ชี้ขาดบนเวทีโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะต้องอยู่ในบริเวณแข่งขัน เขาจะเป็นผู้ดำเนินการแข่งขันและอำนวยการตัดสิน เขาต้องแน่ใจว่าการตัดสินของเขาได้บันทึกอยู่อย่างถูกต้อง
บทเพิ่มเติม (ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ชี้ขาดบนเวที)
เมื่อผู้ชี้ขาดบนเวทีได้ประกาศความเห็นอย่างหนึ่งออกไปแล้ว จะต้องไม่ละสายตาไปจากคู่แข่งขัน
ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองอยู่ในลักษณะเนวาซ่า และหันหน้าออกด้านนอก ผู้ชี้ขาดบนเวทีอาจออกไปอยู่ที่บริเวณปลอดภัยได้ ซึ่งก่อนจะทำการตัดสินการแข่งขัน ผู้ชี้ชาดบนเวทีและผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องทำความคุ้นเคยกับเสียงระฆังหรือเครื่องหมายที่แสดงว่าจบเวลาการแข่งขันบนเวทีนั้น ๆ และเมื่อขึ้นควบคุมการแข่งขันบนเวที ผู้ชี้ขาดบนเวทีและผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นเบาะแข่งขันสะอาดและอยู่ในสภาพดี ไม่มีช่องว่างระหว่างเบาะ เก้าอี้ของผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และผู้เข้าแข่งขันได้ปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
ผู้ชี้ขาดต้องแน่ใจว่าไม่มีผู้ชม ผู้สนับสนุน หรือช่างภาพที่อาจรบกวนหรือทำให้ผู้เข้าแข่งขันได้รับบาดเจ็บได้
ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ตัดสินข้างเวที
ผู้ตัดสินข้างเวทีต้องช่วยเหลือผู้ชี้ขาดบนเวที โดยนั่งตรงข้ามซึ่งกันและกันที่มุมทั้งสองนอกบริเวณแข่งขัน ผู้ตัดสินข้างเวทีแต่ละคนต้องแสดงสัญญาณที่เหมาะสม เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกับผู้ชี้ขาดบนเวทีในด้านเทคนิค หรือการทำโทษ ซึ่งผู้ชี้ขาดบนเวทีประกาศไปแล้ว
เมื่อผู้ชี้ขาดบนเวทีแสดงความเห็นสูงกว่าความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีทั้งสองคนในด้านเทคนิค หรือการทำโทษ จะต้องเปลี่ยนคำตัดสินให้ตรงกับความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีที่ให้สูงกว่า และเมื่อผู้ชี้ขาดบนเวทีแสดงความเห็นต่ำกว่าความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีทั้งสองคนในด้านเทคนิค หรือการทำโทษ จะต้องเปลี่ยนคำตัดสินให้ตรงกับความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีที่แสดงความเห็นที่ต่ำกว่า
ในกรณีที่ผู้ตัดสินข้างเวทีคนหนึ่งแสดงความเห็นที่สูงกว่า และผู้ตัดสินข้างเวทีอีกคนหนึ่งแสดงความเห็นที่ต่ำกว่า ดังนั้น การตัดสินของผู้ชี้ขาดบนเวทีให้คงเดิม และเมื่อผู้ตัดสินข้างเวทีทั้งสองแสดงความเห็นไม่ตรงกับความเห็นของผู้ชี้ขาดบนเวทū

ไม่มีความคิดเห็น: