วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ตัวอย่างคลิปวิดีโอกีฬายูโด(Judo)

ตัวอย่างคลิปวิดีโอกีฬายูโด(Judo)
จาก

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ยูโดซีเกมส์ซ้อมญี่ปุ่น-เกาหลีใต้

นายหัสบดินทร์ โรจนชีวะ นายกสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมกำหนดส่ง 13 นักยูโดประเภทต่อสู้ชุดเตรียมซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ประกอบด้วย สยาม ธนาภรณ์,ภราดร สายบัว,อคีเลียส แรลลี่,รณรงค์ มฤทจินดา,วุฒิไกร ศรีโสภาพ,พงศ์พิษณุ ประทีปวัฒนานนท์,ธราลัทธ์ สุทธิพูน,วันวิสา หมื่นจิต,วันวิสาข์ ทรงประดิษฐ์ , อัญชรี ทองศรีสังข์,สุรัตนา ทองศรี,พัชรี พิไชยแพทย์,นิรมล พรมแดง ไปเก็บตัวฝึกซ้อม ที่มหาวิทยาลัย ยอง อิน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 28 กันยายน-8 พฤศจิกายน โดยระหว่างการฝึกซ้อมนาย คิม จุง ฮวง นายกสมาคมยูโดเกาหลีใต้จะติดต่อนักยูโดเมืองและมหาวิทยาลัยต่างๆ มาทำการประลองกับทีมไทยควบคู่กันไปพร้อมกันนั้นสมาคมจะส่ง 4 นักยูโดประเภทท่ารำชุดเตรียมซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ไปเก็บตัวฝึกซ้อม ที่สำนักยูโด โคโดกัน กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 28 กันยายน-8 พฤศจิกายนประกอบด้วย ชาญชัย สุขสุวรรณ์,บดินทร์ ปัญจบุตร,ปิติมา ทวีรัตนศิลป์,นิศาชล สวัสดิ์ชัย รวมทั้งส่งปิติมาและนิศาชลเข้าร่วมการแข่งขันยูโด ประเภทท่ารำ นานาชาติ ที่กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม จากการที่สมาคมส่งนักกีฬาไปแข่งขันในช่วงที่ผ่านมาพบว่ามี 3 ชาติที่จะเป็นคู่แข่งแย่งเหรียญทองกับไทยคือพม่า,เวียดนามและอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าจะทำได้ตามเป้าหมายอย่างน้อย 4 เหรียญทอง

ยูโดลำปาง

ประวัติผู้ฝึกสอน ชมรมยูโด ร.๑๗ พัน.๒ ลำปางสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขากองทัพภาคที่ ๓จ.ส.อ.โยธิน ไชยอุรินทร์ประวัติการศึกษาจ่าสิบเอกโยธิน ไชยอุรินทร์ระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏลำปาง เอกพัฒนาชุมชนประวัติการรับราชการชื่อ จ่าสิบเอกโยธิน ไชยอุรินทร์บรรจุเข้ารับราชการทหารเมื่อ 6 พฤษภาคม 2528ตำแหน่ง นายสิบน้ำมัน (ชกท. 768) มว.บริการ ร้อย สสช.ร.17 พัน 2 (อัตรา ส.อ.)หมายเลขประจำตัว 1255100800ปี 2528-2529 ปฏิบัติหน้าที่ ตามคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ที่ 468/2529 ตำแหน่งใน ทภ.3 สน. และ กอ.รมน.ภาค 3 หน่วยสันตินิมิตร 311 ชุด ปจว. และบันเทิงปี 2531-2532 ปฏิบัติหน้าที่ในกองพันผสมเตรียมพร้อมออกปฏิบัติการตามแผนป้องกันประเทศ ตาม คำสั่งกองทัพภาคที่ 3 ที่ 551/2532ปี 2531 เลื่อนยศนายทหารประทวน เป็น ส.ท. หมายเลข 43 ตั้งแต่ 7 มกราคม 2531ปี 2533-2534 ปฏิบัติหน้าที่ ตามคำสั่งกองทัพภาคที่ 3 ที่ 526/2533 บริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทย สปปล.ปี 2534 เลื่อนยศนายทหารประทวน เป็น ส.อ. หมายเลข 52 ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2534ปี 2544 ตามคำสั่งกองบัญชาการทหารสูงสุด (เฉพาะ) ที่ 865/44 ลงวันที่ 27 กันยายน 2544 ปฏิบัติราชการในติมอร์ตะวันออก ผลัดที่ 4 ภายใต้ กกล. UNTAET พ้นจากการปฏิบัติ ราชการในติมอร์ตะวันออก เมื่อ 27 มีนาคม 2545ปี 2545 ปฏิบัติหน้าที่มวลชนสัมพันธ์ ณ จว.แม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ ตุลาคม 2545- ตุลาคม 2546ปี 2546 เลื่อนยศนายทหารประทวน ตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 417/46 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 เป็น จ.ส.ต. หมายเลข 81 ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2545 ปี 2546 เลื่อนยศนายทหารประทวน ตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 1646/46 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 เป็น จ.ส.ท. หมายเลข 155 ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2546ประวัติทางด้านกีฬา- สายวิทยฐานะ สายดำชั้น 1 จากสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์- สายวิทยฐานะ สายดำชั้น 2 จากสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์- สายวิทยฐานะ สายดำชั้น 2 จากศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)- อาจารย์ผู้ฝึกสอนและผู้ควบคุมทีมชมรมยูโด ร.17 พัน.2 - ผ่านการอบรมผู้ฝึกสอนกีฬายูโดขั้นพื้นฐาน ผู้ตัดสินระดับ C ของสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์- ผ่านการอบรม กรรมการฝ่ายเทคนิค และผู้ตัดสินชั้นสูง ของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยการรับรองของสหพันธ์กีฬายูโดคนพิการนานาชาติ ประเทศอิตาลี เกรด B- ผ่านการอบรมผู้ฝึกสอนกีฬายูโด ปี 2546 สมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร- ผ่านการอบรมรอบรม Olympic Solidarity Certification in Judo Coaching 2400กรรมการตัดสินกีฬายูโดปีพ.ศ. 2539- กรรมการจัดการแข่งขันกีฬายูโด กีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 23 "แม่โจ้เกมส์" มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ปีพ.ศ. 2540- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด รามคำแหงคัพ ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด "หมีใหญ่เกมส์" โรงเรียนอัสสัมชัญลำปางปีพ.ศ. 2541- กรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 (กีฬายูโด) กรุงเทพมหานคร - กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด รามคำแหงคัพ ครั้งที่ 16 มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร- กรรมการจัดการแข่งขัน, กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดคนพิการ เฟสบิกเกมส์ ครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดยุวชน เยาวชนชิงชนะเลิศประเทศไทย ครั้งที่ 2 สนามกีฬาหัวหมาก กรุงเทพมหานครปีพ.ศ. 2542- วิทยากรพิเศษ, กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 15 จังหวัดยะลา- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างนักเรียนไทย-นักเรียนสิงค์โปร จังหวัดลำปาง- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดยุวชน-เยาวชนชิงชนะเลิศประเทศไทย ครั้งที่ 3 โรงเรียนปากเกร็ดวิทยา จังหวัดนนทบุรี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานครปีพ.ศ. 2543- วิทยากรพิเศษ, กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 จังหวัดสุรินทร์- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดนานาชาติ THE 6 th SOUTHEAST ASIA JUDO CHAMPION ประเทศเวียดนาม- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดนานาชาติทัวร์นาเม้นท์ ครั้งที่ 8 ประเทศเวียดนาม- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดยุวชน-เยาวชนชิงชนะเลิศประเทศไทย ครั้งที่ 4 สนามกีฬากลาง จังหวัดนนทบุรี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ Bangkok International ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสิน การสอบเลื่อนสายวิทยฐานะ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง- กรรมการผู้ตัดสิน การสอบเลื่อนสายวิทยฐานะ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดมหาวิทยาลัยรังสิตคัพ ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยรังสิต กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโมหาวิทยาลัยสยาม "สยามฟิวเจอร์คัพ" ศูนย์การค้าพิวเจอร์ปาร์ค บางแค กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 บางกอกเกมส์ กรุงเทพมหานครปีพ.ศ. 2544- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬามหาวิทยาลัย "ณิวัฒนาเกมส์" จังหวัดสุพรรณบุรี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด "หมีใหญ่เกมส์" ครั้งที่ 2 โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 17 "เมืองแพร่เกมส์" จังหวัดแพร่- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษปีพ.ศ. 2545- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 18 "พังงาเกมส์" จังหวัดพังงา- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 6 จังหวัดอุดรธานี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 33 จังหวัดเชียงใหม่- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ปีพ.ศ. 2546- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 19 จังหวัดเพชรบุรี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 16 จังหวัดลำปาง- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาราชภัฎแห่งชาติ ครั้งที่ 14 จังหวัดเชียงใหม่ปีพ.ศ. 2547- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 31 จังหวัดเชียงใหม่- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 20 จังหวัดสุโขทัย- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬายูโดยุวชน-เยาวชนชิงแชมป์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 จังหวัดบุรีรัมย์- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาแห่งชาติ ภาค 1 ครั้งที่ 34 จังหวัดระยอง- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดราชภัฏแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 จังหวัดราชบุรีปีพ.ศ. 2548- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬายูโดยุวชน-เยาวชนชิงแชมป์แห่งประเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 จังหวัดลำปาง- อาจารย์ผู้ฝึกสอนโครงการต่อสู้ป้องกันตนเอง ณ เทศบาลนครลำปาง มกราคม 2548ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ค่ายสุรศักดิ์มนตรีลำปางปีพ.ศ. 2539- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด สถาบันราชภัฏลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดราชภัฏแห่งชาติ ครั้งที่ 10 จังหวัดสกลนครปีพ.ศ. 2540- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด สถาบันราชภัฏลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดราชภัฏแห่งชาติ ครั้งที่ 11 จังหวัดยะลาปีพ.ศ. 2541- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเขต 5 จังหวัดเชียงใหม่ - ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด สถาบันราชภัฏลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดราชภัฏแห่งชาติ ครั้งที่ 12 จังหวัดสุรินทร์ปีพ.ศ. 2542- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา CMU Cup ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดเยาวชน (ศูนย์กีฬาไทย-ญี่ปุ่น)ปีพ.ศ. 2543- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษา เขตการศึกษา 8 ครั้งที่ 22 จังหวัดลำปาง - ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ฝึกกีฬาเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานครปีพ.ศ. 2544- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 จังหวัดเพชรบูรณ์- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนเขต 5 ครั้งที่ 18 จังหวัดแพร่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ฝึกกีฬาเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโด รังสิตคัพ ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดชิงแชมป์ยุวชนนนทบุรีคัพ ครั้งที่ 2 จังหวัดนนทบุรีปีพ.ศ. 2545 (1 กรกฎาคม 44 - 1 ก.พ. 45)- ผู้ฝึกสอนวิชายูโดและศิลปป้องกันตัวให้กับกรมตำรวจติมอร์ ประเทศติมอร์ตะวันออก- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 จังหวัดสุพรรณบุรี- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดนักเรียน- นักศึกษา เขตการศึกษา 8 ครั้งที่ 24 จังหวัดน่านปีพ.ศ. 2546- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนภาค 5 ครั้งที่ 19 จังหวัดพิจิตร- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 จังหวัดกระบี่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดชิงแชมป์ภาคเหนือต้านภัยยาเสพติด จังหวัดเชียงใหม่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันคัดเลือกตัวแทนจังหวัดลำปาง- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติภาค 5 ครั้งที่ 20 จังหวัดน่านปีพ.ศ. 2547- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 จังหวัดขอนแก่น- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ฝึกกีฬาเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันคัดเลือกตัวแทนจังหวัดลำปาง- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ภาค 5 ครั้งที่ 34 จังหวัดแพร่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษา เขตการศึกษาที่ 10 ครั้งที่ 26 จังหวัดลำปาง- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ภาค 5 ครั้งที่ 21 จังหวัดเพชรบูรณ์ปี 2548- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษาแห่งประเทศไทยครั้งที่ 26 จังหวัดชลบุรี- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 21 จังหวัดชัยภูมิ

การฝึกยูโดด้วยตนเอง

การฝึกเล่นยูโดด้วยตนเอง
ผู้ฝึกยูโดควรมีการฝึกตนเองให้มีการทรงตัวที่ดีที่สุด ความมั่นคงที่ก่อให้เกิดการทรงตัว อยู่ได้มี 3 ชนิด
น้ำหนัก ของร่างกายจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความมั่นคง คนที่มีน้ำหนักตัวมากย่อมมีความมั่นคงมากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า
ฐาน คือที่รองรับให้วัตถุนั้นคงอยู่ได้ เท้าทั้งสองข้างของคนก็เปรียบเสมือนฐานที่รับน้ำหนักของร่างกายถ้าระยะของเท้าน้อยฐานก็แคบ ถ้ามีแรงมากระทำจะทำให้คนนั้นเสียการทรงตัวได้ง่าย ถ้ายืนแยกเท้าฐานรองรับน้ำหนักตัวจะกว้างขึ้นตามระยะระหว่างเท้าทำให้มีความมั่นคงมากขึ้น
จุดศูนย์ถ่วง คือจุดศูนย์กลางของความถ่วงหรือจุดรวมของน้ำหนัก ความมั่นคงจะขึ้นอยู่กับความสูงของจุดศูนย์ถ่วงถ้าจุดศูนย์ถ่วงอยู่ห่างจากฐานมากจะทำให้มั่นคงน้อย ถ้าจุดศูนย์ถ่วงใกล้ฐานมากความมั่นคงก็จะมีมาก

ความรู้พื้นฐานของกีฬายูโด

การยูโด กีฬาบริหารร่างกายและจิตใจ
ความรู้พื้นฐานของกีฬายูโด ยูโดเป็นกีฬาหลักประเภทบุคคลประเภทหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นกีฬาสากลอยู่ในขณะนี้ โดยมีหลักการและวัตถุประสงค์คือ มุ่งบริหารร่างกายและจิตใจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้แรงให้น้อยที่สุด เพื่อสวัสดิภาพและประโยชน์สุขร่วมกัน การฝึกยูโดต้องมีการฝึกการต่อสู้และป้องกันตัว ก็เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกได้ออกแรง ซึ่งเป็นหนทางก่อให้เกิดสมรรถภาพทางกายตามอุดมคติของท่านจิโกโร คาโน (Jigoro kano) ผู้ให้กำเนิดกีฬาประเภทนี้ว่า "Maximum Efficiency with minimum Effort and Mutual Welfare and Benifit"
กล่าวคือยูโดใช้วิธีการโอนอ่อนผ่อนตาม หรือที่เรียกว่า "ทางแห่งความสุภาพ" "Gentleness or soft way" ทำให้ได้เปรียบแก่ผู้ที่มีกำลังมากกว่าเป็นวิธีการที่ทำให้คนตัวเล็กกว่าน้ำหนักน้อยกว่าและกำลังด้อยกว่า อาจต่อสู้กับผู้ที่อยู่ในลักษณะเหนือกว่าด้วยประการทั้งปวงดังกล่าวได้ และด้วยเหตุนี้เองจึงนำเอาคำว่า "ยู Ju" ซึ่งหมายถึงการโอนอ่อนหรือให้ทางแห่งความสุภาพนำหน้าชื่อนี้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนผู้ให้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกได้ระลึกอยู่เสมอ
ประโยชน์ที่ได้รับยูโดเป็นวิชาที่ช่วยในการบริหารกายทุกส่วนอย่างแท้จริง ทำให้ร่างกายมีสัดส่วนเหมาะสม ทำให้ร่างกายมีความโอนอ่อนผ่อนตามสถานการณ์ต่างๆได้ ให้รู้จักควบคุมตนเอง ให้มีการทรงตัวที่มั่นคง และทำให้เกิดความผ่อนคลายแก่ร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดสมาธิ นอกจากนั้นยังเป็นเกมกีฬาการต่อสู้ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความกล้าหาญ อดทนให้สูงขึ้น ให้เกิดความมั่นใจในตัวเอง ช่วยเพิ่มพูนความมานะบากบั่นและความคิดในการตัดสินใจ ตลอดจนการติดต่อกับบุคคลอื่นด้วย ดังนั้นการเล่นและการฝึกยูโดจึงถือเป็นการฝึกด้านจิตใจให้เข้มแข็ง ทรหดอดทนยิ่งขึ้นด้วย
เทคนิคของยูโด (Judo Techniques) เทคนิคของยูโดอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ได้ดังนี้
นาเงวาซา (Nagewaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการทุ่ม (Throwing) มีท่าทุ่มที่เป็นพื้นฐานอยู่ 12 ท่า และแย่งออกเป็นประเภทตามส่วนของร่างกายที่ใช้ทุ่มนั้นๆซึ่งได้แก่การทุ่มด้วยมือ การทุ่มด้วยสะโพก การปัดขา การทุ่มด้วยไหล่ การทุ่มด้วยสีข้างและหลัง
กาต้าเมวาซา (Katamawaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการกอดรัดเพื่อให้หายใจไม่ออกและการจับยืด (Chocking and Holding) เป็นเทคนิคที่ใช้ขณะอยู่กับพื้นเบาะ (tatami) เพื่อให้คู่ต้อสู้ยอมจำนน
อาเตมิวาซา (Atemiwaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการชกต่อย ทุบตี ถีบถอง (Striking) ส่วนต่างๆของร่างกายให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือถึงแก่ชีวิต ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวเท่านั้น และไม่เคยจัดการแข่งขัน
ระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโด ระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโดทั้งสองเพศ (ชาย-หญิง) ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีสีของสายคาดเอวเป็นเครื่องหมาย ระดับความสามารถมาตรฐานดังกล่าวแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับใหญ่คือ
ระดับกียู (Kyu) คือระดับที่อาจเรียกว่า "นักเรียน" และ
ระดับดาน (Dan) คือระดับที่เรียกว่า "ผู้นำ" เป็นผู้ซึ่งมีความสามารถสูง ทั้งระดับนักเรียนและระดับผู้นำนี้ยังแบ่งออกเป็นระดับย่อยๆลงอีก โดยมีสีประจำแต่ละระดับไว้ซึ่งแต่ละประเทศกำหนดไม่เหมือนกัน
สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ดังนี้
รองสายดำ
ชั้น 5
สาดคาดเอวสีขาว
รองสายดำ
ชั้น 4
สายคาดเอวสีเขียว
รองสายดำ
ชั้น 3
สาดคาดเอวสีฟ้า
รองสายดำ
ชั้น 2
สายคาดเอวสีน้ำตาล
รองสายดำ
ชั้น 1
สาดคาดเอวสน้ำตาลปลายดำ
สายดำ
ชั้น 1
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 2
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 3
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 4
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 5
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 6
สายคาดเอวสขาวสลับแดง
สายดำ
ชั้น 7
สายคาดเอวสีขาวสลับแดง
สายดำ
ชั้น 8
สายคาดเอวสีขาวสลับแดง
สายดำ
ชั้น 9
สายคาดเอวสีแดง
สายดำ
ชั้น 10
สายคาดเอวสีแดง
สถานที่ฝึก อุปกรณ์
สถานที่ฝึก (The Dojo) สถานที่ฝึกยูโดจะต้องเป็นสถานที่กว้างขวาง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่พื้นปูด้วยเบาะ (Tatami) วางอัดแน่นเป็นแผ่นเดียกัน และมีผ้าคลุมให้ดึงอีกชั้นหนึ่ง โดยปกติเบาะยูโดหรือเสื่อยูโดแต่ละผืนจะมีขนาดยาว 6 ฟุต กว้าง 3 ฟุตและหนา 4 นิ้ว เบาะที่ใช้ฝึกต้องมีความยืดหยุ่นพอดีไม่อ่อนหรือแข็งเกินไป ถ้าอ่อนเกินไปจะทำให้พื้นผิวไม่เรียบทำให้เท้าพลิกแพลงได้ง่าย และทำให้การเคลื่อนไหวลำบาก แต่ถ้าแข็งเกินไปเวลาล้มอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้นการทำหรือการสั่งซื้อควรพิจารณาให้รอบคอบ ควรสั่งซื้อกับร้านที่เชื่อถือได้เท่านั้พื้นที่สำหรับปูเบาะยูโดที่เหมาะสมควรเป็นพื้นไม้ที่ยกสูงขึ้นโดยเฉพาะ ไม่ควรปูกับพื้นซีเมนต์หรือพื้นดินทีเดียว เพราะจะมีความยืดหยุ่นน้อยก่อให้เกิดการการบาดเจ็บได้ง่าย แต่ถ้าปูกับพื้นไม้(เวที) ที่ยกสูงขึ้นแล้วจะทำให้เกิดความยืดหยุ่นลดการบาดเจ็บได้ด้วยกับสร้างความพอใจให้กับผู้ที่ถูกทุ่ม ที่สามารถลงสู่พื้นได้เสียงดัง เพราะคุณภาพของการลงสู่พื้นที่ดีสามารถวัดได้ที่เสียงดังที่เกิดขึ้นนั้นได้ สถานที่สำหรับฝึกยูโดต้องเป็นห้องเอกเทศไม่ควรเป็นห้องที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่น มีแสงสว่างพอเพียงปราศจากเสียงและกลิ่นรบกวน และควรมีช่องทางเดินระหว่างขอบเบาะกับฝาผนังด้วย หากมีบริเวณมากพอควรจัดที่นั่งไว้สำหรับผู้ชมด้วยจะดีมาก นอกจากนั้นภายในห้องฝึกยูโดควรจัดที่เคารพบูชาพระพุทธรูป พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนผู้ให้กำเนิดแก่วิชายูโด หรือครูอาจารย์ที่มีบทบาทสำคัญต่อกิจการของยูโด
เครื่องแต่งกาย (Judogi) เครื่องแต่งกายในการฝึกยูโดต้องสวมชุดโดยเฉพาะที่เรียกว่า Judoji ซึ่งมีพื้นฐานมาจากประเพณีนิยมเกี่ยวกับการแต่งกายของชาวญี่ปุ่นมีลักษณะดังนี้
เสื้อ คล้ายเสื้อกิโมโน ถักด้วยด้ายดิบสีขาวหนาแข็งแรงทนทาน แต่อ่อนนิ่มไม่ลื่นมือ สามารถซักได้และใช้ได้นาน ส่วนแขนและลำตัวกว้างหลวม ตัวยาวคลุมก้น แขนยาวประมาณครึ่งแขนท่อนล่างเสื้อยูโดที่ดีต้องมีลักษณะเบาบางแต่แข็งแรง การเบาบางจะช่วยให้การระบายความร้อนในร่างกายดีขึ้น ประเทศญี่ปุ่นนับว่าเป็นประเทศผู้ผลิตเสื้อยูโดที่ดีที่สุดในโลกกางเกง มีลักษณะคล้ายกางเกงจีนเป็นผ้าดิบเช่นกัน ที่เอวมีร้อยเชือกรัดเอว กางเกงต้องหลวมพอสบายยาวประมาณครึ่งขาท่อนล่าง สายคาดเอว เป็นผ้าเย็บซ้อนกันหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาวให้คาดเอวได้ 2 รอบ เหลือชายไว้ผูกเงื่อนพิรอด (Reef Knot) แล้วเหลือชายข้างละ 15 เซนติเมตร สำหรับสายคาดเอวนี้เป็นเครื่องแสดงระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโดด้วย การฝึกยูโดต้องฝึกด้วยเท้าเปล่า ฉะนั้นเรื่องเล็บเท้าตลอดจนเล็บมือต้องตัดให้สั้น และสะอาดอยู่เสมอ เครื่องประดับเช่น นาฬิการ แหวน สร้อย กิ๊บติดผม ฯลฯ จะต้องเอาออกเพราะสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ นักยูโดที่ดีต้องหมั่นทำความสะอาดชุดยูโด มือและเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าให้มีกลิ่นเหม็นเพราะจะทำให้เบาะยูโดสกปรกและมีกลิ่นเหม็นไปด้วย
สถานที่ซื้ออุปกรณ์ ซื้อตามร้านอุปกรณ์กีฬาชั้นนำทั่วๆไป ราคาประมาณ 300-500 บาทขึ้นไป แล้วแต่เนื้อผ้า
มารยาทของนักยูโด ตามที่เราทราบแล้วว่าวิชายูโดเป็นวิชาแห่งความสุภาพอ่อนโยน และห้องฝึกยูโดนั้นเป็นที่รวมของผู้ที่สนใจต่อความสุภาพ นอกจากนั้นห้องฝึกยูโดยังเป็นที่สำรวมร่างกายและจิตใจ และมีสิ่งอันควรสักการะบูชาประดิษฐานอยู่ด้วย ดังนั้นผู้ที่เข้าไปในห้องฝึกยูโดจึงควรสำรวมกิริยาวาจาให้สุภาพและเหมาะแก่สถานที่ เช่น ไม่พูดเสียงดังเกินไป ไม่กล่าวคำหยาบคาย ไม่ตลกคะนอง ไม่สูบบุหรี่ ไม่สวมรองเท้าขึ้นไปบนเบาะยูโด เป็นต้น ระหว่างการฝึกซ้อม หรือฟังคำบรรยายจากครูอาจารย์ควรฟังด้วยความเคารพ นอกจากนั้นควรเคารพเชื่อฟังคำแนะนำของครูอาจารย์ และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของห้องฝึกที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม กับทั้งเป็นการอบรมนิสัย มารยาทและจิตใจของตนเองด้วย
วิธีการแสดงความเคารพ การแสดงความเคารพเป็นการแสดงออกซึ่งทางวัฒนธรรมทางจิตใจอันบริสุทธิ์ ฉะนั้นวิธีแสดงความเคารพจึงต้องกระทำด้วยจิตใจ ไม่เคารพซึ่งกันและกันเพียงพอเป็นพิธีเท่านั้น การแสดงความเคารพตามหลักการของวิชายูโดมีดังต่อไปนี้
เมื่อถึงสถานที่ฝึก ต้องแสดงความเคารพสิ่งที่ตั้งบูชาประจำสถานที่ครั้งหนึ่งก่อน
ก่อนเริ่มฝึก เมื่อขึ้นบนเบาะต้องแสดงความเคารพต่อที่บูชาอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนเริ่มฝึกซ้อมต้องแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน และหลังจากยุติการฝึกซ้อมต้องเคารพกันอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนเลิกฝึกต้องแสดงความเคารพที่บูชา
เมื่อเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวแล้ว ก่อนจะกลับต้องแสดงความเคารพที่บูชาอีกครั้งหนึ่ง
วิธีทำความเคารพมี 2 วิธี คือ นั่งและยืน ส่วนวิธีเคลื่อนไหวในการแสดงความเคารพ เช่น ยืนแล้วจะกลับเป็นนั่ง หรือนั่งแล้วกลับยืน ตามปกติใช้ขาขวาเป็นหลักในการทรงตัว การเล่นยูโดยังมีหลักการและศิลปอื่นๆอีกมากมายอาทิ การอบอุ่นร่างกายและศิลปการล้ม การทรงตัวและการเคลื่อนไหว การทุ่ม เป็นต้น

กติกายูโด

กติกายูโด
พื้นที่แข่งขัน
พื้นที่แข่งขันจะต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 14 x 14 เมตร และอย่างมากที่สุด 16 x 16 เมตร โดยจะปูด้วยตาตามิ หรือวัสดุอื่นที่ได้รับการรับรอง โดยทั่ว ๆ ไปจะเป็นสีเขียว
พื้นที่แข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เส้นแบ่งเขตทั้งสองนี้จะเรียกว่าเขตอันตราย จะมีสีที่เห็นได้ชัด โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะเป็นสีแดง กว้างประมาณ 1 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่แข่งขัน หรือจะใช้เส้นทาบติดเป็นสี่เหลี่ยมรอบบริเวณแข่งขันก็ได้
พื้นที่ภายในรวมทั้งเขตอันตรายจะเรียกว่า บริเวณแข่งขัน และมีบริเวณอย่างน้อย 9 x 9 เมตร หรืออย่างมาก 10 x 10 เมตร บริเวณนอกเขตอันตรายจะเรียกว่าบริเวณปลอดภัย และจะมีความกว้างประมาณ 3 เมตร (แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร)
เทปเหนียวสีแดงและสีขาว กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และยาว 25 เซนติเมตร จะต้องติดตรงกลางบริเวณที่แข่งขันในระยะห่างกัน 4 เมตร เพื่อเป็นที่ชี้แสดงให้ผู้เข้าแข่งขันทราบในการเริ่มและจบการแข่งขัน เทปสีแดงจะอยู่ข้างขวาของกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที และเทปสีขาวจะอยู่ข้างซ้ายของผู้ชี้ขาดบนเวที
บริเวณที่แข่งขันจะต้องอยู่บนพื้นที่ยืดหยุ่นได้หรือยกพื้น
เมื่อบริเวณที่แข่งขันสองบริเวณหรือมากกว่าใช้ติดต่อกัน อนุญาตให้ใช้บริเวณปลอดภัยติดต่อกันได้ แต่ต้องมีระยะ 3 เมตรเป็นอย่างน้อย
มีบริเวณว่างรอบบริเวณที่แข่งขันทั้งหมดอย่างน้อยอีก 50 เซนติเมตร
บทเพิ่มเติม (พื้นที่แข่งขัน)
ตาตามิ จะใช้วัสดุลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 183 x 91.5 เซนติเมตร หรือเล็กกว่าเล็กน้อย สุดแท้แต่ถิ่นแคว้นของประเทศญี่ปุ่น
ปัจจุบันนี้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีขนาดวัดได้ 1 x 2 เมตร ทำด้วยฟางข้าวอัดแน่น หรือส่วนมากจะใช้โฟมอัดแน่นก็ได้ เบาะนี้จะต้องแน่นเมื่อเหยียบและมีคุณสมบัติไม่กระเทือนในขณะที่นักกีฬาทำอูเกมิ เบาะจะต้องหุ้มด้วยแผ่นพลาสติกสีแดงหรือสีเขียว และจะต้องไม่ลื่นหรือหยาบเกินไป ซึ่งเบาะยูโดเมื่อปูต่อกันแล้วจะต้องเรียบสนิทไม่มีร่อง แน่น และไม่เลื่อนออกจากกัน
เวทียกพื้นต้องทำด้วยไม้แข็ง ซึ่งควรจะมีความยืดหยุ่นพอสมควร วัดได้ประมาณ 18 x 18 เมตร ไม่สูงเกินจากพื้น 50 เซนติเมตร

อุปกรณ์
1. เก้าอี้ และธง (ผู้ตัดสินข้างเวที)
ต้องมีเก้าอี้เบา ๆ สองตัวอยู่มุมนอกของบริเวณแข่งขันบนเขตปลอดภัยทแยงมุมตรงข้ามกันมุมละหนึ่งตัว โดยที่นั่งของผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องไม่บังกรรมการที่จดผลการแข่งขัน และป้ายคะแนนแจ้งผลการแข่งขัน ซึ่งมีธงสีแดงและสีขาวจะใส่อยู่ในซองติดกับเก้าอี้ของผู้ตัดสินข้างเวที
2. ป้ายบอกคะแนน
เวทีแข่งขันแต่ละเวทีจะต้องมีป้ายบอกคะแนน 2 ป้าย ตั้งทแยงมุมตรงข้ามกัน ป้ายนี้จะไม่สูงเกิน 90 เซนติเมตร และกว้างเกิน 2 เมตร อยู่นอกบริเวณแข่งขัน ซึ่งกรรมการผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ และผู้ชม ต้องเห็นได้ชัดเจน
คะแนนที่ถูกทำโทษจะเปลี่ยนเป็นคะแนนได้แต้มทันทีบนป้ายบอกคะแนน อย่างไรก็ตาม จะต้องทำป้ายที่แจ้งแสดงจำนวนที่ผู้เข้าแข่งขันถูกทำโทษด้วย
และต้องมีกากบาทสีแดงและสีขาวบนป้ายบอกคะแนน ซึ่งจะบอกการตรวจครั้งที่หนึ่งและสองของแพทย์
เมื่อใช้ป้ายคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะต้องมีป้ายคะแนนที่ใช้มือเปล่าเพื่อควบคุมด้วย
3. นาฬิกาจับเวลา ต้องมีดังต่อไปนี้
จับเวลาแข่งขัน 1 เรือน
จับเวลาโอซาเอะโกมิ 2 เรือน
สำรอง 1 เรือน
เมื่อใช้นาฬิกาจับเวลาอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีนาฬิกาที่ใช้ควบคุมด้วยมือเพิ่มขึ้นด้วย
4. ธง (ผู้จับเวลา) จะใช้ธงดังต่อไปนี้
สีเหลือง - เวลาแข่งขันหยุด
สีฟ้า - เวลาโอซาเอะโกมิ
ไม่จำเป็นต้องใช้ธงสีเหลืองและสีฟ้า เมื่อเครื่องจับเวลาอิเล็กทรอนิกส์แสดงการแข่งขัน และเวลาโอซาเอะโกมิกำลังใช้อยู่ อย่างไรก็ตาม ต้องมีธงเหล่านี้พร้อมไว้
5. สัญญาณเวลา
ต้องมีระฆังหนึ่งใบหรือเครื่องมือที่ดังได้ยินเหมือนกัน เพื่อให้กรรมการผู้ตัดสินทราบว่าหมดเวลาการแข่งขันที่กำหนด
6. สายคาดเอวสีแดงและสีขาว
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องคาดเอวด้วยสายสีแดงหรือสีขาวที่มีความกว้างอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ยาวพอที่จะพันรอบเอวได้หนึ่งรอบทับบนเข็มขัดวุฒิ และเมื่อคาดแล้วต้องให้เหลือปลาย 20 ถึง 30 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง (ผู้ถูกเรียกก่อนจะคาดสีแดง)
บทเพิ่มเติม (อุปกรณ์)
ที่นั่งของผู้จัดการแข่งขัน/ผู้จดคะแนน/ผู้ควบคุมเวลา ให้อยู่ไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้ ผู้จดคะแนนและผู้ควบคุมเวลาต้องหันหน้าเข้าหาผู้ตัดสิน และให้ผู้จดบันทึกการแข่งขันเห็นได้ชัด ระยะห่างของผู้ชมการแข่งขัน โดยทั่วไปแล้ว ไม่ควรให้ผู้ชมเข้าใกล้พื้นที่แข่งขันเกิน 3 เมตร
เครื่องจับเวลาและป้ายคะแนน
นาฬิกาต้องตั้งไว้ให้นายช่างที่รับผิดชอบเข้าตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ตลอดเวลา เช่น เวลาเริ่มและเวลาแข่งขัน ป้ายคะแนนต้องเป็นป้ายที่มีขนาดตามที่สหพันธ์นานาชาติกำหนดไว้ และพร้อมที่จะใช้งานตามที่ผู้ตัดสินต้องการได้ทันที ซึ่งป้ายคะแนนและเครื่องจับเวลาต้องใช้พร้อมกันกับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เกิดขัดข้อง
ป้ายคะแนนที่ใช้ด้วยมือ
ตัวอย่าง
เมื่อผ่ายขาวได้แต้มด้วยวาซา-อาริ และก็ถูกทำโทษด้วยจูอิ ฝ่ายแดงก็จะได้รับยูโกะทันที เนื่องจากผลการกระทำของฝ่ายขาว
กากบาทแดงและขาว
พื้นด้านหลังของป้ายคะแนนควรเป็นสีเขียว และมีกากบาทสีแดงและขาวตามสีของสายที่ผู้เข้าแข่งขันคาด
เครื่องแบบยูโด (ยูโดกี)
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมเครื่องแบบยูโด (ยูโดกี) ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. ทำด้วยผ้าฝ่ายที่แข็งแรงหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน และอยู่ในสภาพที่ดี (ไม่มีปริหรือขาด)
2. สีขาวหรือขาวหม่น
3. เครื่องหมายที่มีได้ คือ
4. เสื้อต้องยาวคลุมต้นขา และจะต้องไม่สั้นกว่ามือกำเมื่อยืดลงด้ายข้างลำตัวเต็มที่ ตัวเสื้อต้องกว้างพอที่จะดึงสองด้านให้ทับกันได้ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตรจากซี่โครงด้านหน้า แขนเสื้อต้องยาวถึงข้อมือหรือสูงกว่าข้อมือไม่เกิน 5 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างกว้าง 10 – 15 เซนติเมตรตลอดแขนเสื้อ (รวมทั้งผ้าพัน)
5. กางเกงไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ต้องยาวคลุมขาทั้งหมด และยาวอย่างมากถึงตาตุ่ม หรือสูงขึ้นจากตาตุ่มได้ 5 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างที่ขากางเกงได้ 10 – 15 เซนติเมตร (รวมทั้งผ้าพัน) ตลอดขากางเกง
6. เข็มขัดที่แข็งแรง กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร มีสีตรงตามวุฒิของผู้เข้าแข่งขันคาดบนเสื้อระดับเอว และผูกเป็นปมสี่เหลี่ยม แน่นพอที่จะไม่ให้เสื้อหลวมเกินไป และยาวพอที่จะพันเอวได้สองรอบ โดยมีปลายสองข้างเลยออกมาข้างละ 20 ถึง 30 เซนติเมตรเมื่อผูกแล้ว
7. ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหญิงจะต้องสวมเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นสีขาวหรือขาวหม่น ชั้นในมีความทนทานและยาวพอที่จะยัดใส่ในกางเกงได้
บทเพิ่มเติม (เครื่องแบบ)
ถ้ายูโดกีของผู้เข้าแข่งขันไม่ถูกต้องตามข้อบังคับนี้ กรรมการผู้ตัดสินต้องสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันเปลี่ยนเป็นยูโดก็ที่ถูกต้องกับข้อบังคับ
เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าแขนเสื้อของผู้เข้าแข่งขันตลอดทั้งแขนถูกต้องตามที่ต้องการ ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันยกแขนทั้งสองขึ้น ยึดตึงในระดับไหล่ นอกจากนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าแขนเสื้อกว้างตามที่ต้องกการหรือไม่ ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันยืดแขนตึงทั้งสองข้างมาทางด้านหน้า และงอแขนทั้งสองขึ้นตั้งศอก 90 องศา

อนามัย
1. ยูโดกีจะต้องสะอาด โดยปกติแล้วจะต้องแห้งและไม่มีกลิ่นที่ไม่ดี
2. เล็บเท้า เล็บมือ จะต้องตัดสั้น
3. อนามัยส่วนตัวของผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในเกณฑ์ดี
4. ผมยาวต้องผูกให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เป็นที่รำคาญแก่คู่ต่อสู้
บทเพิ่มเติม (อนามัย)
ผู้เข้าแข่งขันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามความต้องการของกฎข้อ 3 และ 4 จะถูกตัดสิทธิ์ห้ามแข่งขัน และจะให้คู่ต่อสู้ชนะโดยคิเค็น-กาซิ ตามข้อบังคับ “ข้างมากของสาม”
ผู้ชี้ขาดและเจ้าหน้าที่
โดยปกติการแข่งขันจะดำเนินไปโดยมีผู้ชี้ขาดบนเวทีหนึ่งคน และผู้ตัดสินข้างเวทีสองคน ผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินทั้งสามจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้บันทึกและผู้จับเวลา
บทเพิ่มเติม (เจ้าหน้าที่)
ผู้จับเวลา ผู้เขียนรายการและผู้บันทึก พร้อมทั้งผู้ช่วยฝ่ายเทคนิคต่าง ๆ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 21 ปี มีความชำนาญในการเป็นผู้ชี้ขาดแห่งชาติไม่ต่ำกว่า 3 ปี และมีความรู้เกี่ยวกับกติการการแข่งขันเป็นอย่างดี
คณะกรรมการจัดการแข่งขันต้องแน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดีก่อนปฏิบัติหน้าที่ และจะต้องมีกรรมการจับเวลาการแข่งขันอย่างน้อย 2 คน คือ คนหนึ่งจะเป็นคนจับเวลาแข่งขันที่แท้จริง และอีกคนหนึ่งมีความชำนาญเป็นพิเศษสำหรับโอซาเอะโกมิ
ถ้าเป็นไปได้ ควรจะต้องมีบุคคลที่สามตรวจสอบการจับเวลาของทั้งสองคน เพื่อป้องกันมิให้มีการผิดพลาดหรือหลงลืม
หน้าที่ของผู้จับเวลา (เวลาแข่งขันจริง) จะเริ่มทันทีที่ได้ยินคำสั่งฮายีเม่ะหรือโยซิ่ และหยุดเวลาทันทีที่ได้ยินคำสั่งมัตเต้ะ หรือโซโนมาม่ะ
ผู้จับเวลาโอซาเอะโกมิ จะเริ่มจับเวลาเมื่อได้ยินโอซาเอะโกมิ จะหยุดเวลาเมื่อได้ยินโซโนมาม่ะ และจะเริ่มจับเวลาอีกครั้งเมื่อได้ยินโยชิ่ หรือเมื่อได้ยินโทเกตะก็จะหยุดนาฬิกาแล้วแจ้งจำนวนวินาทีที่ผ่านไปให้ผู้ชี้ขาดบนเวทีทราบ หรือเมื่อหมดเวลาสำหรับโอซาเอะโกมิ (30 วินาทีเมื่อยังไม่มีการได้คะแนนมาก่อน หรือ 25 วินาทีเมื่อผู้ถูกปล้ำได้เสียวาซา-อาริ หรือเกโกกุไปแล้ว) แจ้งหมดเวลาโดยการให้สัญญาณ
ผู้จับเวลาโอซาเอะโกมิ จะยกธงสีฟ้าและหยุดนาฬิกาเมื่อได้ยินโซโน-มาม่ะ และจะเอาธงลงเมื่อได้ยิน โยชิ่
ผู้จับเวลา (เวลาแข่งขันจริง) จะยกธงสีเหลือง และหยุดเวลาเมื่อได้ยินคำสั่งมัตเต้ะ หรือโซโนมาม่ะ จะเอาธงลงพร้อมกับเริ่มเวลาเมื่อได้ยินฮายีเม่ะ หรือโยชิ่ เมื่อเวลาของการแข่งขันที่ได้กำหนดหมดลง ผู้จับเวลาจะต้องบอกผู้ชี้ขาดบนเวทีถึงความจริงในเรื่องนี้ โดยใช้เครื่องสัญญาณที่ได้ยินชัดเจน
ผู้บันทึกการแข่งขันต้องแน่ใจว่าได้เข้าใจและทราบถึงเครื่องหมาย และสัญญาณที่ใช้ในการแจ้งผลการแข่งขันเป็นอย่างดี
นอกเหนือไปจากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะต้องมีผู้บันทึกรายการแข่งขันทั่ว ๆ ไปอีกด้วย
ถ้าใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการต่าง ๆ จะเป็นดังเช่นอธิบายข้างต้น แต่เพื่อความแน่นอนจะต้องมีเครื่องบันทึกโดยใช้มือเตรียมพร้อมไว้ด้วย
ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งคนใดไม่ขึ้นไปประจำที่บนเวทีแข่งขัน เมื่อถูกเรียกสามครั้ง โดยเว้นระยะเรียกห่างกันครั้งละหนึ่งนาที จะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ทำการแข่งขัน
ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ชี้ขาดบนเวที
ผู้ชี้ขาดบนเวทีโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะต้องอยู่ในบริเวณแข่งขัน เขาจะเป็นผู้ดำเนินการแข่งขันและอำนวยการตัดสิน เขาต้องแน่ใจว่าการตัดสินของเขาได้บันทึกอยู่อย่างถูกต้อง
บทเพิ่มเติม (ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ชี้ขาดบนเวที)
เมื่อผู้ชี้ขาดบนเวทีได้ประกาศความเห็นอย่างหนึ่งออกไปแล้ว จะต้องไม่ละสายตาไปจากคู่แข่งขัน
ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองอยู่ในลักษณะเนวาซ่า และหันหน้าออกด้านนอก ผู้ชี้ขาดบนเวทีอาจออกไปอยู่ที่บริเวณปลอดภัยได้ ซึ่งก่อนจะทำการตัดสินการแข่งขัน ผู้ชี้ชาดบนเวทีและผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องทำความคุ้นเคยกับเสียงระฆังหรือเครื่องหมายที่แสดงว่าจบเวลาการแข่งขันบนเวทีนั้น ๆ และเมื่อขึ้นควบคุมการแข่งขันบนเวที ผู้ชี้ขาดบนเวทีและผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นเบาะแข่งขันสะอาดและอยู่ในสภาพดี ไม่มีช่องว่างระหว่างเบาะ เก้าอี้ของผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และผู้เข้าแข่งขันได้ปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
ผู้ชี้ขาดต้องแน่ใจว่าไม่มีผู้ชม ผู้สนับสนุน หรือช่างภาพที่อาจรบกวนหรือทำให้ผู้เข้าแข่งขันได้รับบาดเจ็บได้
ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ตัดสินข้างเวที
ผู้ตัดสินข้างเวทีต้องช่วยเหลือผู้ชี้ขาดบนเวที โดยนั่งตรงข้ามซึ่งกันและกันที่มุมทั้งสองนอกบริเวณแข่งขัน ผู้ตัดสินข้างเวทีแต่ละคนต้องแสดงสัญญาณที่เหมาะสม เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกับผู้ชี้ขาดบนเวทีในด้านเทคนิค หรือการทำโทษ ซึ่งผู้ชี้ขาดบนเวทีประกาศไปแล้ว
เมื่อผู้ชี้ขาดบนเวทีแสดงความเห็นสูงกว่าความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีทั้งสองคนในด้านเทคนิค หรือการทำโทษ จะต้องเปลี่ยนคำตัดสินให้ตรงกับความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีที่ให้สูงกว่า และเมื่อผู้ชี้ขาดบนเวทีแสดงความเห็นต่ำกว่าความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีทั้งสองคนในด้านเทคนิค หรือการทำโทษ จะต้องเปลี่ยนคำตัดสินให้ตรงกับความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีที่แสดงความเห็นที่ต่ำกว่า
ในกรณีที่ผู้ตัดสินข้างเวทีคนหนึ่งแสดงความเห็นที่สูงกว่า และผู้ตัดสินข้างเวทีอีกคนหนึ่งแสดงความเห็นที่ต่ำกว่า ดังนั้น การตัดสินของผู้ชี้ขาดบนเวทีให้คงเดิม และเมื่อผู้ตัดสินข้างเวทีทั้งสองแสดงความเห็นไม่ตรงกับความเห็นของผู้ชี้ขาดบนเวทū

ชุดยูโด