วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ตัวอย่างคลิปวิดีโอกีฬายูโด(Judo)

ตัวอย่างคลิปวิดีโอกีฬายูโด(Judo)
จาก

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ยูโดซีเกมส์ซ้อมญี่ปุ่น-เกาหลีใต้

นายหัสบดินทร์ โรจนชีวะ นายกสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมกำหนดส่ง 13 นักยูโดประเภทต่อสู้ชุดเตรียมซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ประกอบด้วย สยาม ธนาภรณ์,ภราดร สายบัว,อคีเลียส แรลลี่,รณรงค์ มฤทจินดา,วุฒิไกร ศรีโสภาพ,พงศ์พิษณุ ประทีปวัฒนานนท์,ธราลัทธ์ สุทธิพูน,วันวิสา หมื่นจิต,วันวิสาข์ ทรงประดิษฐ์ , อัญชรี ทองศรีสังข์,สุรัตนา ทองศรี,พัชรี พิไชยแพทย์,นิรมล พรมแดง ไปเก็บตัวฝึกซ้อม ที่มหาวิทยาลัย ยอง อิน กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ระหว่างวันที่ 28 กันยายน-8 พฤศจิกายน โดยระหว่างการฝึกซ้อมนาย คิม จุง ฮวง นายกสมาคมยูโดเกาหลีใต้จะติดต่อนักยูโดเมืองและมหาวิทยาลัยต่างๆ มาทำการประลองกับทีมไทยควบคู่กันไปพร้อมกันนั้นสมาคมจะส่ง 4 นักยูโดประเภทท่ารำชุดเตรียมซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ไปเก็บตัวฝึกซ้อม ที่สำนักยูโด โคโดกัน กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 28 กันยายน-8 พฤศจิกายนประกอบด้วย ชาญชัย สุขสุวรรณ์,บดินทร์ ปัญจบุตร,ปิติมา ทวีรัตนศิลป์,นิศาชล สวัสดิ์ชัย รวมทั้งส่งปิติมาและนิศาชลเข้าร่วมการแข่งขันยูโด ประเภทท่ารำ นานาชาติ ที่กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม จากการที่สมาคมส่งนักกีฬาไปแข่งขันในช่วงที่ผ่านมาพบว่ามี 3 ชาติที่จะเป็นคู่แข่งแย่งเหรียญทองกับไทยคือพม่า,เวียดนามและอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าจะทำได้ตามเป้าหมายอย่างน้อย 4 เหรียญทอง

ยูโดลำปาง

ประวัติผู้ฝึกสอน ชมรมยูโด ร.๑๗ พัน.๒ ลำปางสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขากองทัพภาคที่ ๓จ.ส.อ.โยธิน ไชยอุรินทร์ประวัติการศึกษาจ่าสิบเอกโยธิน ไชยอุรินทร์ระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏลำปาง เอกพัฒนาชุมชนประวัติการรับราชการชื่อ จ่าสิบเอกโยธิน ไชยอุรินทร์บรรจุเข้ารับราชการทหารเมื่อ 6 พฤษภาคม 2528ตำแหน่ง นายสิบน้ำมัน (ชกท. 768) มว.บริการ ร้อย สสช.ร.17 พัน 2 (อัตรา ส.อ.)หมายเลขประจำตัว 1255100800ปี 2528-2529 ปฏิบัติหน้าที่ ตามคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 ที่ 468/2529 ตำแหน่งใน ทภ.3 สน. และ กอ.รมน.ภาค 3 หน่วยสันตินิมิตร 311 ชุด ปจว. และบันเทิงปี 2531-2532 ปฏิบัติหน้าที่ในกองพันผสมเตรียมพร้อมออกปฏิบัติการตามแผนป้องกันประเทศ ตาม คำสั่งกองทัพภาคที่ 3 ที่ 551/2532ปี 2531 เลื่อนยศนายทหารประทวน เป็น ส.ท. หมายเลข 43 ตั้งแต่ 7 มกราคม 2531ปี 2533-2534 ปฏิบัติหน้าที่ ตามคำสั่งกองทัพภาคที่ 3 ที่ 526/2533 บริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทย สปปล.ปี 2534 เลื่อนยศนายทหารประทวน เป็น ส.อ. หมายเลข 52 ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2534ปี 2544 ตามคำสั่งกองบัญชาการทหารสูงสุด (เฉพาะ) ที่ 865/44 ลงวันที่ 27 กันยายน 2544 ปฏิบัติราชการในติมอร์ตะวันออก ผลัดที่ 4 ภายใต้ กกล. UNTAET พ้นจากการปฏิบัติ ราชการในติมอร์ตะวันออก เมื่อ 27 มีนาคม 2545ปี 2545 ปฏิบัติหน้าที่มวลชนสัมพันธ์ ณ จว.แม่ฮ่องสอน ตั้งแต่ ตุลาคม 2545- ตุลาคม 2546ปี 2546 เลื่อนยศนายทหารประทวน ตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 417/46 ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 เป็น จ.ส.ต. หมายเลข 81 ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2545 ปี 2546 เลื่อนยศนายทหารประทวน ตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ 1646/46 ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 เป็น จ.ส.ท. หมายเลข 155 ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2546ประวัติทางด้านกีฬา- สายวิทยฐานะ สายดำชั้น 1 จากสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์- สายวิทยฐานะ สายดำชั้น 2 จากสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์- สายวิทยฐานะ สายดำชั้น 2 จากศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น)- อาจารย์ผู้ฝึกสอนและผู้ควบคุมทีมชมรมยูโด ร.17 พัน.2 - ผ่านการอบรมผู้ฝึกสอนกีฬายูโดขั้นพื้นฐาน ผู้ตัดสินระดับ C ของสมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์- ผ่านการอบรม กรรมการฝ่ายเทคนิค และผู้ตัดสินชั้นสูง ของการกีฬาแห่งประเทศไทย โดยการรับรองของสหพันธ์กีฬายูโดคนพิการนานาชาติ ประเทศอิตาลี เกรด B- ผ่านการอบรมผู้ฝึกสอนกีฬายูโด ปี 2546 สมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร- ผ่านการอบรมรอบรม Olympic Solidarity Certification in Judo Coaching 2400กรรมการตัดสินกีฬายูโดปีพ.ศ. 2539- กรรมการจัดการแข่งขันกีฬายูโด กีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 23 "แม่โจ้เกมส์" มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ปีพ.ศ. 2540- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด รามคำแหงคัพ ครั้งที่ 15 มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด "หมีใหญ่เกมส์" โรงเรียนอัสสัมชัญลำปางปีพ.ศ. 2541- กรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเซี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 (กีฬายูโด) กรุงเทพมหานคร - กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด รามคำแหงคัพ ครั้งที่ 16 มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพมหานคร- กรรมการจัดการแข่งขัน, กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดคนพิการ เฟสบิกเกมส์ ครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดยุวชน เยาวชนชิงชนะเลิศประเทศไทย ครั้งที่ 2 สนามกีฬาหัวหมาก กรุงเทพมหานครปีพ.ศ. 2542- วิทยากรพิเศษ, กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 15 จังหวัดยะลา- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างนักเรียนไทย-นักเรียนสิงค์โปร จังหวัดลำปาง- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดยุวชน-เยาวชนชิงชนะเลิศประเทศไทย ครั้งที่ 3 โรงเรียนปากเกร็ดวิทยา จังหวัดนนทบุรี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานครปีพ.ศ. 2543- วิทยากรพิเศษ, กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 16 จังหวัดสุรินทร์- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดนานาชาติ THE 6 th SOUTHEAST ASIA JUDO CHAMPION ประเทศเวียดนาม- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดนานาชาติทัวร์นาเม้นท์ ครั้งที่ 8 ประเทศเวียดนาม- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดยุวชน-เยาวชนชิงชนะเลิศประเทศไทย ครั้งที่ 4 สนามกีฬากลาง จังหวัดนนทบุรี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ Bangkok International ครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสิน การสอบเลื่อนสายวิทยฐานะ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง- กรรมการผู้ตัดสิน การสอบเลื่อนสายวิทยฐานะ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดมหาวิทยาลัยรังสิตคัพ ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยรังสิต กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโมหาวิทยาลัยสยาม "สยามฟิวเจอร์คัพ" ศูนย์การค้าพิวเจอร์ปาร์ค บางแค กรุงเทพมหานคร- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 บางกอกเกมส์ กรุงเทพมหานครปีพ.ศ. 2544- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬามหาวิทยาลัย "ณิวัฒนาเกมส์" จังหวัดสุพรรณบุรี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด "หมีใหญ่เกมส์" ครั้งที่ 2 โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จังหวัดลำปาง- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 17 "เมืองแพร่เกมส์" จังหวัดแพร่- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 5 จังหวัดศรีสะเกษปีพ.ศ. 2545- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 18 "พังงาเกมส์" จังหวัดพังงา- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 6 จังหวัดอุดรธานี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 33 จังหวัดเชียงใหม่- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่ปีพ.ศ. 2546- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 19 จังหวัดเพชรบุรี- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 16 จังหวัดลำปาง- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาราชภัฎแห่งชาติ ครั้งที่ 14 จังหวัดเชียงใหม่ปีพ.ศ. 2547- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 31 จังหวัดเชียงใหม่- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 20 จังหวัดสุโขทัย- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬายูโดยุวชน-เยาวชนชิงแชมป์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8 จังหวัดบุรีรัมย์- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาแห่งชาติ ภาค 1 ครั้งที่ 34 จังหวัดระยอง- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโดราชภัฏแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 ณ จังหวัดเพชรบูรณ์- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 จังหวัดราชบุรีปีพ.ศ. 2548- กรรมการผู้ตัดสินกีฬายูโด กีฬายูโดยุวชน-เยาวชนชิงแชมป์แห่งประเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 จังหวัดลำปาง- อาจารย์ผู้ฝึกสอนโครงการต่อสู้ป้องกันตนเอง ณ เทศบาลนครลำปาง มกราคม 2548ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ค่ายสุรศักดิ์มนตรีลำปางปีพ.ศ. 2539- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด สถาบันราชภัฏลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดราชภัฏแห่งชาติ ครั้งที่ 10 จังหวัดสกลนครปีพ.ศ. 2540- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด สถาบันราชภัฏลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดราชภัฏแห่งชาติ ครั้งที่ 11 จังหวัดยะลาปีพ.ศ. 2541- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเขต 5 จังหวัดเชียงใหม่ - ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด สถาบันราชภัฏลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดราชภัฏแห่งชาติ ครั้งที่ 12 จังหวัดสุรินทร์ปีพ.ศ. 2542- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬา CMU Cup ครั้งที่ 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดเยาวชน (ศูนย์กีฬาไทย-ญี่ปุ่น)ปีพ.ศ. 2543- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษา เขตการศึกษา 8 ครั้งที่ 22 จังหวัดลำปาง - ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ฝึกกีฬาเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานครปีพ.ศ. 2544- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 22 จังหวัดเพชรบูรณ์- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนเขต 5 ครั้งที่ 18 จังหวัดแพร่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ฝึกกีฬาเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโด รังสิตคัพ ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดชิงแชมป์ยุวชนนนทบุรีคัพ ครั้งที่ 2 จังหวัดนนทบุรีปีพ.ศ. 2545 (1 กรกฎาคม 44 - 1 ก.พ. 45)- ผู้ฝึกสอนวิชายูโดและศิลปป้องกันตัวให้กับกรมตำรวจติมอร์ ประเทศติมอร์ตะวันออก- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 จังหวัดสุพรรณบุรี- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดนักเรียน- นักศึกษา เขตการศึกษา 8 ครั้งที่ 24 จังหวัดน่านปีพ.ศ. 2546- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนภาค 5 ครั้งที่ 19 จังหวัดพิจิตร- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 จังหวัดกระบี่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดชิงแชมป์ภาคเหนือต้านภัยยาเสพติด จังหวัดเชียงใหม่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันคัดเลือกตัวแทนจังหวัดลำปาง- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติภาค 5 ครั้งที่ 20 จังหวัดน่านปีพ.ศ. 2547- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25 จังหวัดขอนแก่น- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬายูโดเฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ฝึกกีฬาเฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพมหานคร- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโด ชมรมยูโด ร.17 พัน.2 ลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันคัดเลือกตัวแทนจังหวัดลำปาง- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬายูโดจังหวัดลำปาง เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ภาค 5 ครั้งที่ 34 จังหวัดแพร่- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษา เขตการศึกษาที่ 10 ครั้งที่ 26 จังหวัดลำปาง- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ภาค 5 ครั้งที่ 21 จังหวัดเพชรบูรณ์ปี 2548- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน-นักศึกษาแห่งประเทศไทยครั้งที่ 26 จังหวัดชลบุรี- ผู้ฝึกสอน, ผู้ควบคุมทีมนักกีฬาชมรมยูโด ร.17 พัน.2 เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 21 จังหวัดชัยภูมิ

การฝึกยูโดด้วยตนเอง

การฝึกเล่นยูโดด้วยตนเอง
ผู้ฝึกยูโดควรมีการฝึกตนเองให้มีการทรงตัวที่ดีที่สุด ความมั่นคงที่ก่อให้เกิดการทรงตัว อยู่ได้มี 3 ชนิด
น้ำหนัก ของร่างกายจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความมั่นคง คนที่มีน้ำหนักตัวมากย่อมมีความมั่นคงมากกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า
ฐาน คือที่รองรับให้วัตถุนั้นคงอยู่ได้ เท้าทั้งสองข้างของคนก็เปรียบเสมือนฐานที่รับน้ำหนักของร่างกายถ้าระยะของเท้าน้อยฐานก็แคบ ถ้ามีแรงมากระทำจะทำให้คนนั้นเสียการทรงตัวได้ง่าย ถ้ายืนแยกเท้าฐานรองรับน้ำหนักตัวจะกว้างขึ้นตามระยะระหว่างเท้าทำให้มีความมั่นคงมากขึ้น
จุดศูนย์ถ่วง คือจุดศูนย์กลางของความถ่วงหรือจุดรวมของน้ำหนัก ความมั่นคงจะขึ้นอยู่กับความสูงของจุดศูนย์ถ่วงถ้าจุดศูนย์ถ่วงอยู่ห่างจากฐานมากจะทำให้มั่นคงน้อย ถ้าจุดศูนย์ถ่วงใกล้ฐานมากความมั่นคงก็จะมีมาก

ความรู้พื้นฐานของกีฬายูโด

การยูโด กีฬาบริหารร่างกายและจิตใจ
ความรู้พื้นฐานของกีฬายูโด ยูโดเป็นกีฬาหลักประเภทบุคคลประเภทหนึ่ง ที่ถือว่าเป็นกีฬาสากลอยู่ในขณะนี้ โดยมีหลักการและวัตถุประสงค์คือ มุ่งบริหารร่างกายและจิตใจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้แรงให้น้อยที่สุด เพื่อสวัสดิภาพและประโยชน์สุขร่วมกัน การฝึกยูโดต้องมีการฝึกการต่อสู้และป้องกันตัว ก็เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกได้ออกแรง ซึ่งเป็นหนทางก่อให้เกิดสมรรถภาพทางกายตามอุดมคติของท่านจิโกโร คาโน (Jigoro kano) ผู้ให้กำเนิดกีฬาประเภทนี้ว่า "Maximum Efficiency with minimum Effort and Mutual Welfare and Benifit"
กล่าวคือยูโดใช้วิธีการโอนอ่อนผ่อนตาม หรือที่เรียกว่า "ทางแห่งความสุภาพ" "Gentleness or soft way" ทำให้ได้เปรียบแก่ผู้ที่มีกำลังมากกว่าเป็นวิธีการที่ทำให้คนตัวเล็กกว่าน้ำหนักน้อยกว่าและกำลังด้อยกว่า อาจต่อสู้กับผู้ที่อยู่ในลักษณะเหนือกว่าด้วยประการทั้งปวงดังกล่าวได้ และด้วยเหตุนี้เองจึงนำเอาคำว่า "ยู Ju" ซึ่งหมายถึงการโอนอ่อนหรือให้ทางแห่งความสุภาพนำหน้าชื่อนี้ เพื่อเป็นเครื่องเตือนผู้ให้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกได้ระลึกอยู่เสมอ
ประโยชน์ที่ได้รับยูโดเป็นวิชาที่ช่วยในการบริหารกายทุกส่วนอย่างแท้จริง ทำให้ร่างกายมีสัดส่วนเหมาะสม ทำให้ร่างกายมีความโอนอ่อนผ่อนตามสถานการณ์ต่างๆได้ ให้รู้จักควบคุมตนเอง ให้มีการทรงตัวที่มั่นคง และทำให้เกิดความผ่อนคลายแก่ร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดสมาธิ นอกจากนั้นยังเป็นเกมกีฬาการต่อสู้ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดความกล้าหาญ อดทนให้สูงขึ้น ให้เกิดความมั่นใจในตัวเอง ช่วยเพิ่มพูนความมานะบากบั่นและความคิดในการตัดสินใจ ตลอดจนการติดต่อกับบุคคลอื่นด้วย ดังนั้นการเล่นและการฝึกยูโดจึงถือเป็นการฝึกด้านจิตใจให้เข้มแข็ง ทรหดอดทนยิ่งขึ้นด้วย
เทคนิคของยูโด (Judo Techniques) เทคนิคของยูโดอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ได้ดังนี้
นาเงวาซา (Nagewaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการทุ่ม (Throwing) มีท่าทุ่มที่เป็นพื้นฐานอยู่ 12 ท่า และแย่งออกเป็นประเภทตามส่วนของร่างกายที่ใช้ทุ่มนั้นๆซึ่งได้แก่การทุ่มด้วยมือ การทุ่มด้วยสะโพก การปัดขา การทุ่มด้วยไหล่ การทุ่มด้วยสีข้างและหลัง
กาต้าเมวาซา (Katamawaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการกอดรัดเพื่อให้หายใจไม่ออกและการจับยืด (Chocking and Holding) เป็นเทคนิคที่ใช้ขณะอยู่กับพื้นเบาะ (tatami) เพื่อให้คู่ต้อสู้ยอมจำนน
อาเตมิวาซา (Atemiwaza) เป็นเทคนิคเกี่ยวกับการชกต่อย ทุบตี ถีบถอง (Striking) ส่วนต่างๆของร่างกายให้เกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือถึงแก่ชีวิต ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะใช้ในการต่อสู้ป้องกันตัวเท่านั้น และไม่เคยจัดการแข่งขัน
ระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโด ระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโดทั้งสองเพศ (ชาย-หญิง) ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีสีของสายคาดเอวเป็นเครื่องหมาย ระดับความสามารถมาตรฐานดังกล่าวแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับใหญ่คือ
ระดับกียู (Kyu) คือระดับที่อาจเรียกว่า "นักเรียน" และ
ระดับดาน (Dan) คือระดับที่เรียกว่า "ผู้นำ" เป็นผู้ซึ่งมีความสามารถสูง ทั้งระดับนักเรียนและระดับผู้นำนี้ยังแบ่งออกเป็นระดับย่อยๆลงอีก โดยมีสีประจำแต่ละระดับไว้ซึ่งแต่ละประเทศกำหนดไม่เหมือนกัน
สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ดังนี้
รองสายดำ
ชั้น 5
สาดคาดเอวสีขาว
รองสายดำ
ชั้น 4
สายคาดเอวสีเขียว
รองสายดำ
ชั้น 3
สาดคาดเอวสีฟ้า
รองสายดำ
ชั้น 2
สายคาดเอวสีน้ำตาล
รองสายดำ
ชั้น 1
สาดคาดเอวสน้ำตาลปลายดำ
สายดำ
ชั้น 1
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 2
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 3
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 4
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 5
สายคาดเอวสีดำ
สายดำ
ชั้น 6
สายคาดเอวสขาวสลับแดง
สายดำ
ชั้น 7
สายคาดเอวสีขาวสลับแดง
สายดำ
ชั้น 8
สายคาดเอวสีขาวสลับแดง
สายดำ
ชั้น 9
สายคาดเอวสีแดง
สายดำ
ชั้น 10
สายคาดเอวสีแดง
สถานที่ฝึก อุปกรณ์
สถานที่ฝึก (The Dojo) สถานที่ฝึกยูโดจะต้องเป็นสถานที่กว้างขวาง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ที่พื้นปูด้วยเบาะ (Tatami) วางอัดแน่นเป็นแผ่นเดียกัน และมีผ้าคลุมให้ดึงอีกชั้นหนึ่ง โดยปกติเบาะยูโดหรือเสื่อยูโดแต่ละผืนจะมีขนาดยาว 6 ฟุต กว้าง 3 ฟุตและหนา 4 นิ้ว เบาะที่ใช้ฝึกต้องมีความยืดหยุ่นพอดีไม่อ่อนหรือแข็งเกินไป ถ้าอ่อนเกินไปจะทำให้พื้นผิวไม่เรียบทำให้เท้าพลิกแพลงได้ง่าย และทำให้การเคลื่อนไหวลำบาก แต่ถ้าแข็งเกินไปเวลาล้มอาจทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้นการทำหรือการสั่งซื้อควรพิจารณาให้รอบคอบ ควรสั่งซื้อกับร้านที่เชื่อถือได้เท่านั้พื้นที่สำหรับปูเบาะยูโดที่เหมาะสมควรเป็นพื้นไม้ที่ยกสูงขึ้นโดยเฉพาะ ไม่ควรปูกับพื้นซีเมนต์หรือพื้นดินทีเดียว เพราะจะมีความยืดหยุ่นน้อยก่อให้เกิดการการบาดเจ็บได้ง่าย แต่ถ้าปูกับพื้นไม้(เวที) ที่ยกสูงขึ้นแล้วจะทำให้เกิดความยืดหยุ่นลดการบาดเจ็บได้ด้วยกับสร้างความพอใจให้กับผู้ที่ถูกทุ่ม ที่สามารถลงสู่พื้นได้เสียงดัง เพราะคุณภาพของการลงสู่พื้นที่ดีสามารถวัดได้ที่เสียงดังที่เกิดขึ้นนั้นได้ สถานที่สำหรับฝึกยูโดต้องเป็นห้องเอกเทศไม่ควรเป็นห้องที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมอื่น มีแสงสว่างพอเพียงปราศจากเสียงและกลิ่นรบกวน และควรมีช่องทางเดินระหว่างขอบเบาะกับฝาผนังด้วย หากมีบริเวณมากพอควรจัดที่นั่งไว้สำหรับผู้ชมด้วยจะดีมาก นอกจากนั้นภายในห้องฝึกยูโดควรจัดที่เคารพบูชาพระพุทธรูป พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนผู้ให้กำเนิดแก่วิชายูโด หรือครูอาจารย์ที่มีบทบาทสำคัญต่อกิจการของยูโด
เครื่องแต่งกาย (Judogi) เครื่องแต่งกายในการฝึกยูโดต้องสวมชุดโดยเฉพาะที่เรียกว่า Judoji ซึ่งมีพื้นฐานมาจากประเพณีนิยมเกี่ยวกับการแต่งกายของชาวญี่ปุ่นมีลักษณะดังนี้
เสื้อ คล้ายเสื้อกิโมโน ถักด้วยด้ายดิบสีขาวหนาแข็งแรงทนทาน แต่อ่อนนิ่มไม่ลื่นมือ สามารถซักได้และใช้ได้นาน ส่วนแขนและลำตัวกว้างหลวม ตัวยาวคลุมก้น แขนยาวประมาณครึ่งแขนท่อนล่างเสื้อยูโดที่ดีต้องมีลักษณะเบาบางแต่แข็งแรง การเบาบางจะช่วยให้การระบายความร้อนในร่างกายดีขึ้น ประเทศญี่ปุ่นนับว่าเป็นประเทศผู้ผลิตเสื้อยูโดที่ดีที่สุดในโลกกางเกง มีลักษณะคล้ายกางเกงจีนเป็นผ้าดิบเช่นกัน ที่เอวมีร้อยเชือกรัดเอว กางเกงต้องหลวมพอสบายยาวประมาณครึ่งขาท่อนล่าง สายคาดเอว เป็นผ้าเย็บซ้อนกันหนาประมาณ 0.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาวให้คาดเอวได้ 2 รอบ เหลือชายไว้ผูกเงื่อนพิรอด (Reef Knot) แล้วเหลือชายข้างละ 15 เซนติเมตร สำหรับสายคาดเอวนี้เป็นเครื่องแสดงระดับความสามารถมาตรฐานของนักยูโดด้วย การฝึกยูโดต้องฝึกด้วยเท้าเปล่า ฉะนั้นเรื่องเล็บเท้าตลอดจนเล็บมือต้องตัดให้สั้น และสะอาดอยู่เสมอ เครื่องประดับเช่น นาฬิการ แหวน สร้อย กิ๊บติดผม ฯลฯ จะต้องเอาออกเพราะสิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ นักยูโดที่ดีต้องหมั่นทำความสะอาดชุดยูโด มือและเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าให้มีกลิ่นเหม็นเพราะจะทำให้เบาะยูโดสกปรกและมีกลิ่นเหม็นไปด้วย
สถานที่ซื้ออุปกรณ์ ซื้อตามร้านอุปกรณ์กีฬาชั้นนำทั่วๆไป ราคาประมาณ 300-500 บาทขึ้นไป แล้วแต่เนื้อผ้า
มารยาทของนักยูโด ตามที่เราทราบแล้วว่าวิชายูโดเป็นวิชาแห่งความสุภาพอ่อนโยน และห้องฝึกยูโดนั้นเป็นที่รวมของผู้ที่สนใจต่อความสุภาพ นอกจากนั้นห้องฝึกยูโดยังเป็นที่สำรวมร่างกายและจิตใจ และมีสิ่งอันควรสักการะบูชาประดิษฐานอยู่ด้วย ดังนั้นผู้ที่เข้าไปในห้องฝึกยูโดจึงควรสำรวมกิริยาวาจาให้สุภาพและเหมาะแก่สถานที่ เช่น ไม่พูดเสียงดังเกินไป ไม่กล่าวคำหยาบคาย ไม่ตลกคะนอง ไม่สูบบุหรี่ ไม่สวมรองเท้าขึ้นไปบนเบาะยูโด เป็นต้น ระหว่างการฝึกซ้อม หรือฟังคำบรรยายจากครูอาจารย์ควรฟังด้วยความเคารพ นอกจากนั้นควรเคารพเชื่อฟังคำแนะนำของครูอาจารย์ และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของห้องฝึกที่กำหนดไว้โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งระเบียบประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม กับทั้งเป็นการอบรมนิสัย มารยาทและจิตใจของตนเองด้วย
วิธีการแสดงความเคารพ การแสดงความเคารพเป็นการแสดงออกซึ่งทางวัฒนธรรมทางจิตใจอันบริสุทธิ์ ฉะนั้นวิธีแสดงความเคารพจึงต้องกระทำด้วยจิตใจ ไม่เคารพซึ่งกันและกันเพียงพอเป็นพิธีเท่านั้น การแสดงความเคารพตามหลักการของวิชายูโดมีดังต่อไปนี้
เมื่อถึงสถานที่ฝึก ต้องแสดงความเคารพสิ่งที่ตั้งบูชาประจำสถานที่ครั้งหนึ่งก่อน
ก่อนเริ่มฝึก เมื่อขึ้นบนเบาะต้องแสดงความเคารพต่อที่บูชาอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนเริ่มฝึกซ้อมต้องแสดงความเคารพซึ่งกันและกัน และหลังจากยุติการฝึกซ้อมต้องเคารพกันอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนเลิกฝึกต้องแสดงความเคารพที่บูชา
เมื่อเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวแล้ว ก่อนจะกลับต้องแสดงความเคารพที่บูชาอีกครั้งหนึ่ง
วิธีทำความเคารพมี 2 วิธี คือ นั่งและยืน ส่วนวิธีเคลื่อนไหวในการแสดงความเคารพ เช่น ยืนแล้วจะกลับเป็นนั่ง หรือนั่งแล้วกลับยืน ตามปกติใช้ขาขวาเป็นหลักในการทรงตัว การเล่นยูโดยังมีหลักการและศิลปอื่นๆอีกมากมายอาทิ การอบอุ่นร่างกายและศิลปการล้ม การทรงตัวและการเคลื่อนไหว การทุ่ม เป็นต้น

กติกายูโด

กติกายูโด
พื้นที่แข่งขัน
พื้นที่แข่งขันจะต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 14 x 14 เมตร และอย่างมากที่สุด 16 x 16 เมตร โดยจะปูด้วยตาตามิ หรือวัสดุอื่นที่ได้รับการรับรอง โดยทั่ว ๆ ไปจะเป็นสีเขียว
พื้นที่แข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เส้นแบ่งเขตทั้งสองนี้จะเรียกว่าเขตอันตราย จะมีสีที่เห็นได้ชัด โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะเป็นสีแดง กว้างประมาณ 1 เมตร เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่แข่งขัน หรือจะใช้เส้นทาบติดเป็นสี่เหลี่ยมรอบบริเวณแข่งขันก็ได้
พื้นที่ภายในรวมทั้งเขตอันตรายจะเรียกว่า บริเวณแข่งขัน และมีบริเวณอย่างน้อย 9 x 9 เมตร หรืออย่างมาก 10 x 10 เมตร บริเวณนอกเขตอันตรายจะเรียกว่าบริเวณปลอดภัย และจะมีความกว้างประมาณ 3 เมตร (แต่จะต้องไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร)
เทปเหนียวสีแดงและสีขาว กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร และยาว 25 เซนติเมตร จะต้องติดตรงกลางบริเวณที่แข่งขันในระยะห่างกัน 4 เมตร เพื่อเป็นที่ชี้แสดงให้ผู้เข้าแข่งขันทราบในการเริ่มและจบการแข่งขัน เทปสีแดงจะอยู่ข้างขวาของกรรมการผู้ชี้ขาดบนเวที และเทปสีขาวจะอยู่ข้างซ้ายของผู้ชี้ขาดบนเวที
บริเวณที่แข่งขันจะต้องอยู่บนพื้นที่ยืดหยุ่นได้หรือยกพื้น
เมื่อบริเวณที่แข่งขันสองบริเวณหรือมากกว่าใช้ติดต่อกัน อนุญาตให้ใช้บริเวณปลอดภัยติดต่อกันได้ แต่ต้องมีระยะ 3 เมตรเป็นอย่างน้อย
มีบริเวณว่างรอบบริเวณที่แข่งขันทั้งหมดอย่างน้อยอีก 50 เซนติเมตร
บทเพิ่มเติม (พื้นที่แข่งขัน)
ตาตามิ จะใช้วัสดุลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 183 x 91.5 เซนติเมตร หรือเล็กกว่าเล็กน้อย สุดแท้แต่ถิ่นแคว้นของประเทศญี่ปุ่น
ปัจจุบันนี้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีขนาดวัดได้ 1 x 2 เมตร ทำด้วยฟางข้าวอัดแน่น หรือส่วนมากจะใช้โฟมอัดแน่นก็ได้ เบาะนี้จะต้องแน่นเมื่อเหยียบและมีคุณสมบัติไม่กระเทือนในขณะที่นักกีฬาทำอูเกมิ เบาะจะต้องหุ้มด้วยแผ่นพลาสติกสีแดงหรือสีเขียว และจะต้องไม่ลื่นหรือหยาบเกินไป ซึ่งเบาะยูโดเมื่อปูต่อกันแล้วจะต้องเรียบสนิทไม่มีร่อง แน่น และไม่เลื่อนออกจากกัน
เวทียกพื้นต้องทำด้วยไม้แข็ง ซึ่งควรจะมีความยืดหยุ่นพอสมควร วัดได้ประมาณ 18 x 18 เมตร ไม่สูงเกินจากพื้น 50 เซนติเมตร

อุปกรณ์
1. เก้าอี้ และธง (ผู้ตัดสินข้างเวที)
ต้องมีเก้าอี้เบา ๆ สองตัวอยู่มุมนอกของบริเวณแข่งขันบนเขตปลอดภัยทแยงมุมตรงข้ามกันมุมละหนึ่งตัว โดยที่นั่งของผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องไม่บังกรรมการที่จดผลการแข่งขัน และป้ายคะแนนแจ้งผลการแข่งขัน ซึ่งมีธงสีแดงและสีขาวจะใส่อยู่ในซองติดกับเก้าอี้ของผู้ตัดสินข้างเวที
2. ป้ายบอกคะแนน
เวทีแข่งขันแต่ละเวทีจะต้องมีป้ายบอกคะแนน 2 ป้าย ตั้งทแยงมุมตรงข้ามกัน ป้ายนี้จะไม่สูงเกิน 90 เซนติเมตร และกว้างเกิน 2 เมตร อยู่นอกบริเวณแข่งขัน ซึ่งกรรมการผู้ตัดสิน เจ้าหน้าที่ และผู้ชม ต้องเห็นได้ชัดเจน
คะแนนที่ถูกทำโทษจะเปลี่ยนเป็นคะแนนได้แต้มทันทีบนป้ายบอกคะแนน อย่างไรก็ตาม จะต้องทำป้ายที่แจ้งแสดงจำนวนที่ผู้เข้าแข่งขันถูกทำโทษด้วย
และต้องมีกากบาทสีแดงและสีขาวบนป้ายบอกคะแนน ซึ่งจะบอกการตรวจครั้งที่หนึ่งและสองของแพทย์
เมื่อใช้ป้ายคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ก็จะต้องมีป้ายคะแนนที่ใช้มือเปล่าเพื่อควบคุมด้วย
3. นาฬิกาจับเวลา ต้องมีดังต่อไปนี้
จับเวลาแข่งขัน 1 เรือน
จับเวลาโอซาเอะโกมิ 2 เรือน
สำรอง 1 เรือน
เมื่อใช้นาฬิกาจับเวลาอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีนาฬิกาที่ใช้ควบคุมด้วยมือเพิ่มขึ้นด้วย
4. ธง (ผู้จับเวลา) จะใช้ธงดังต่อไปนี้
สีเหลือง - เวลาแข่งขันหยุด
สีฟ้า - เวลาโอซาเอะโกมิ
ไม่จำเป็นต้องใช้ธงสีเหลืองและสีฟ้า เมื่อเครื่องจับเวลาอิเล็กทรอนิกส์แสดงการแข่งขัน และเวลาโอซาเอะโกมิกำลังใช้อยู่ อย่างไรก็ตาม ต้องมีธงเหล่านี้พร้อมไว้
5. สัญญาณเวลา
ต้องมีระฆังหนึ่งใบหรือเครื่องมือที่ดังได้ยินเหมือนกัน เพื่อให้กรรมการผู้ตัดสินทราบว่าหมดเวลาการแข่งขันที่กำหนด
6. สายคาดเอวสีแดงและสีขาว
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องคาดเอวด้วยสายสีแดงหรือสีขาวที่มีความกว้างอย่างน้อย 5 เซนติเมตร ยาวพอที่จะพันรอบเอวได้หนึ่งรอบทับบนเข็มขัดวุฒิ และเมื่อคาดแล้วต้องให้เหลือปลาย 20 ถึง 30 เซนติเมตร ทั้งสองข้าง (ผู้ถูกเรียกก่อนจะคาดสีแดง)
บทเพิ่มเติม (อุปกรณ์)
ที่นั่งของผู้จัดการแข่งขัน/ผู้จดคะแนน/ผู้ควบคุมเวลา ให้อยู่ไกลที่สุดเท่าที่จะไกลได้ ผู้จดคะแนนและผู้ควบคุมเวลาต้องหันหน้าเข้าหาผู้ตัดสิน และให้ผู้จดบันทึกการแข่งขันเห็นได้ชัด ระยะห่างของผู้ชมการแข่งขัน โดยทั่วไปแล้ว ไม่ควรให้ผู้ชมเข้าใกล้พื้นที่แข่งขันเกิน 3 เมตร
เครื่องจับเวลาและป้ายคะแนน
นาฬิกาต้องตั้งไว้ให้นายช่างที่รับผิดชอบเข้าตรวจสอบความเที่ยงตรงได้ตลอดเวลา เช่น เวลาเริ่มและเวลาแข่งขัน ป้ายคะแนนต้องเป็นป้ายที่มีขนาดตามที่สหพันธ์นานาชาติกำหนดไว้ และพร้อมที่จะใช้งานตามที่ผู้ตัดสินต้องการได้ทันที ซึ่งป้ายคะแนนและเครื่องจับเวลาต้องใช้พร้อมกันกับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เกิดขัดข้อง
ป้ายคะแนนที่ใช้ด้วยมือ
ตัวอย่าง
เมื่อผ่ายขาวได้แต้มด้วยวาซา-อาริ และก็ถูกทำโทษด้วยจูอิ ฝ่ายแดงก็จะได้รับยูโกะทันที เนื่องจากผลการกระทำของฝ่ายขาว
กากบาทแดงและขาว
พื้นด้านหลังของป้ายคะแนนควรเป็นสีเขียว และมีกากบาทสีแดงและขาวตามสีของสายที่ผู้เข้าแข่งขันคาด
เครื่องแบบยูโด (ยูโดกี)
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมเครื่องแบบยูโด (ยูโดกี) ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. ทำด้วยผ้าฝ่ายที่แข็งแรงหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน และอยู่ในสภาพที่ดี (ไม่มีปริหรือขาด)
2. สีขาวหรือขาวหม่น
3. เครื่องหมายที่มีได้ คือ
4. เสื้อต้องยาวคลุมต้นขา และจะต้องไม่สั้นกว่ามือกำเมื่อยืดลงด้ายข้างลำตัวเต็มที่ ตัวเสื้อต้องกว้างพอที่จะดึงสองด้านให้ทับกันได้ไม่น้อยกว่า 20 เซนติเมตรจากซี่โครงด้านหน้า แขนเสื้อต้องยาวถึงข้อมือหรือสูงกว่าข้อมือไม่เกิน 5 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างกว้าง 10 – 15 เซนติเมตรตลอดแขนเสื้อ (รวมทั้งผ้าพัน)
5. กางเกงไม่มีเครื่องหมายใด ๆ ต้องยาวคลุมขาทั้งหมด และยาวอย่างมากถึงตาตุ่ม หรือสูงขึ้นจากตาตุ่มได้ 5 เซนติเมตรเป็นอย่างน้อย และให้มีช่องว่างที่ขากางเกงได้ 10 – 15 เซนติเมตร (รวมทั้งผ้าพัน) ตลอดขากางเกง
6. เข็มขัดที่แข็งแรง กว้าง 4 – 5 เซนติเมตร มีสีตรงตามวุฒิของผู้เข้าแข่งขันคาดบนเสื้อระดับเอว และผูกเป็นปมสี่เหลี่ยม แน่นพอที่จะไม่ให้เสื้อหลวมเกินไป และยาวพอที่จะพันเอวได้สองรอบ โดยมีปลายสองข้างเลยออกมาข้างละ 20 ถึง 30 เซนติเมตรเมื่อผูกแล้ว
7. ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหญิงจะต้องสวมเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นสีขาวหรือขาวหม่น ชั้นในมีความทนทานและยาวพอที่จะยัดใส่ในกางเกงได้
บทเพิ่มเติม (เครื่องแบบ)
ถ้ายูโดกีของผู้เข้าแข่งขันไม่ถูกต้องตามข้อบังคับนี้ กรรมการผู้ตัดสินต้องสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันเปลี่ยนเป็นยูโดก็ที่ถูกต้องกับข้อบังคับ
เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าแขนเสื้อของผู้เข้าแข่งขันตลอดทั้งแขนถูกต้องตามที่ต้องการ ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันยกแขนทั้งสองขึ้น ยึดตึงในระดับไหล่ นอกจากนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าแขนเสื้อกว้างตามที่ต้องกการหรือไม่ ผู้ตัดสินจะสั่งให้ผู้เข้าแข่งขันยืดแขนตึงทั้งสองข้างมาทางด้านหน้า และงอแขนทั้งสองขึ้นตั้งศอก 90 องศา

อนามัย
1. ยูโดกีจะต้องสะอาด โดยปกติแล้วจะต้องแห้งและไม่มีกลิ่นที่ไม่ดี
2. เล็บเท้า เล็บมือ จะต้องตัดสั้น
3. อนามัยส่วนตัวของผู้เข้าแข่งขันจะต้องอยู่ในเกณฑ์ดี
4. ผมยาวต้องผูกให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เป็นที่รำคาญแก่คู่ต่อสู้
บทเพิ่มเติม (อนามัย)
ผู้เข้าแข่งขันผู้ใดไม่ปฏิบัติตามความต้องการของกฎข้อ 3 และ 4 จะถูกตัดสิทธิ์ห้ามแข่งขัน และจะให้คู่ต่อสู้ชนะโดยคิเค็น-กาซิ ตามข้อบังคับ “ข้างมากของสาม”
ผู้ชี้ขาดและเจ้าหน้าที่
โดยปกติการแข่งขันจะดำเนินไปโดยมีผู้ชี้ขาดบนเวทีหนึ่งคน และผู้ตัดสินข้างเวทีสองคน ผู้ชี้ขาดและผู้ตัดสินทั้งสามจะได้รับความช่วยเหลือจากผู้บันทึกและผู้จับเวลา
บทเพิ่มเติม (เจ้าหน้าที่)
ผู้จับเวลา ผู้เขียนรายการและผู้บันทึก พร้อมทั้งผู้ช่วยฝ่ายเทคนิคต่าง ๆ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 21 ปี มีความชำนาญในการเป็นผู้ชี้ขาดแห่งชาติไม่ต่ำกว่า 3 ปี และมีความรู้เกี่ยวกับกติการการแข่งขันเป็นอย่างดี
คณะกรรมการจัดการแข่งขันต้องแน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นอย่างดีก่อนปฏิบัติหน้าที่ และจะต้องมีกรรมการจับเวลาการแข่งขันอย่างน้อย 2 คน คือ คนหนึ่งจะเป็นคนจับเวลาแข่งขันที่แท้จริง และอีกคนหนึ่งมีความชำนาญเป็นพิเศษสำหรับโอซาเอะโกมิ
ถ้าเป็นไปได้ ควรจะต้องมีบุคคลที่สามตรวจสอบการจับเวลาของทั้งสองคน เพื่อป้องกันมิให้มีการผิดพลาดหรือหลงลืม
หน้าที่ของผู้จับเวลา (เวลาแข่งขันจริง) จะเริ่มทันทีที่ได้ยินคำสั่งฮายีเม่ะหรือโยซิ่ และหยุดเวลาทันทีที่ได้ยินคำสั่งมัตเต้ะ หรือโซโนมาม่ะ
ผู้จับเวลาโอซาเอะโกมิ จะเริ่มจับเวลาเมื่อได้ยินโอซาเอะโกมิ จะหยุดเวลาเมื่อได้ยินโซโนมาม่ะ และจะเริ่มจับเวลาอีกครั้งเมื่อได้ยินโยชิ่ หรือเมื่อได้ยินโทเกตะก็จะหยุดนาฬิกาแล้วแจ้งจำนวนวินาทีที่ผ่านไปให้ผู้ชี้ขาดบนเวทีทราบ หรือเมื่อหมดเวลาสำหรับโอซาเอะโกมิ (30 วินาทีเมื่อยังไม่มีการได้คะแนนมาก่อน หรือ 25 วินาทีเมื่อผู้ถูกปล้ำได้เสียวาซา-อาริ หรือเกโกกุไปแล้ว) แจ้งหมดเวลาโดยการให้สัญญาณ
ผู้จับเวลาโอซาเอะโกมิ จะยกธงสีฟ้าและหยุดนาฬิกาเมื่อได้ยินโซโน-มาม่ะ และจะเอาธงลงเมื่อได้ยิน โยชิ่
ผู้จับเวลา (เวลาแข่งขันจริง) จะยกธงสีเหลือง และหยุดเวลาเมื่อได้ยินคำสั่งมัตเต้ะ หรือโซโนมาม่ะ จะเอาธงลงพร้อมกับเริ่มเวลาเมื่อได้ยินฮายีเม่ะ หรือโยชิ่ เมื่อเวลาของการแข่งขันที่ได้กำหนดหมดลง ผู้จับเวลาจะต้องบอกผู้ชี้ขาดบนเวทีถึงความจริงในเรื่องนี้ โดยใช้เครื่องสัญญาณที่ได้ยินชัดเจน
ผู้บันทึกการแข่งขันต้องแน่ใจว่าได้เข้าใจและทราบถึงเครื่องหมาย และสัญญาณที่ใช้ในการแจ้งผลการแข่งขันเป็นอย่างดี
นอกเหนือไปจากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะต้องมีผู้บันทึกรายการแข่งขันทั่ว ๆ ไปอีกด้วย
ถ้าใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการต่าง ๆ จะเป็นดังเช่นอธิบายข้างต้น แต่เพื่อความแน่นอนจะต้องมีเครื่องบันทึกโดยใช้มือเตรียมพร้อมไว้ด้วย
ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งคนใดไม่ขึ้นไปประจำที่บนเวทีแข่งขัน เมื่อถูกเรียกสามครั้ง โดยเว้นระยะเรียกห่างกันครั้งละหนึ่งนาที จะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ทำการแข่งขัน
ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ชี้ขาดบนเวที
ผู้ชี้ขาดบนเวทีโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว จะต้องอยู่ในบริเวณแข่งขัน เขาจะเป็นผู้ดำเนินการแข่งขันและอำนวยการตัดสิน เขาต้องแน่ใจว่าการตัดสินของเขาได้บันทึกอยู่อย่างถูกต้อง
บทเพิ่มเติม (ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ชี้ขาดบนเวที)
เมื่อผู้ชี้ขาดบนเวทีได้ประกาศความเห็นอย่างหนึ่งออกไปแล้ว จะต้องไม่ละสายตาไปจากคู่แข่งขัน
ในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันทั้งสองอยู่ในลักษณะเนวาซ่า และหันหน้าออกด้านนอก ผู้ชี้ขาดบนเวทีอาจออกไปอยู่ที่บริเวณปลอดภัยได้ ซึ่งก่อนจะทำการตัดสินการแข่งขัน ผู้ชี้ชาดบนเวทีและผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องทำความคุ้นเคยกับเสียงระฆังหรือเครื่องหมายที่แสดงว่าจบเวลาการแข่งขันบนเวทีนั้น ๆ และเมื่อขึ้นควบคุมการแข่งขันบนเวที ผู้ชี้ขาดบนเวทีและผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นเบาะแข่งขันสะอาดและอยู่ในสภาพดี ไม่มีช่องว่างระหว่างเบาะ เก้าอี้ของผู้ตัดสินข้างเวทีจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และผู้เข้าแข่งขันได้ปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
ผู้ชี้ขาดต้องแน่ใจว่าไม่มีผู้ชม ผู้สนับสนุน หรือช่างภาพที่อาจรบกวนหรือทำให้ผู้เข้าแข่งขันได้รับบาดเจ็บได้
ตำแหน่งและหน้าที่ของผู้ตัดสินข้างเวที
ผู้ตัดสินข้างเวทีต้องช่วยเหลือผู้ชี้ขาดบนเวที โดยนั่งตรงข้ามซึ่งกันและกันที่มุมทั้งสองนอกบริเวณแข่งขัน ผู้ตัดสินข้างเวทีแต่ละคนต้องแสดงสัญญาณที่เหมาะสม เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกับผู้ชี้ขาดบนเวทีในด้านเทคนิค หรือการทำโทษ ซึ่งผู้ชี้ขาดบนเวทีประกาศไปแล้ว
เมื่อผู้ชี้ขาดบนเวทีแสดงความเห็นสูงกว่าความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีทั้งสองคนในด้านเทคนิค หรือการทำโทษ จะต้องเปลี่ยนคำตัดสินให้ตรงกับความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีที่ให้สูงกว่า และเมื่อผู้ชี้ขาดบนเวทีแสดงความเห็นต่ำกว่าความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีทั้งสองคนในด้านเทคนิค หรือการทำโทษ จะต้องเปลี่ยนคำตัดสินให้ตรงกับความเห็นของผู้ตัดสินข้างเวทีที่แสดงความเห็นที่ต่ำกว่า
ในกรณีที่ผู้ตัดสินข้างเวทีคนหนึ่งแสดงความเห็นที่สูงกว่า และผู้ตัดสินข้างเวทีอีกคนหนึ่งแสดงความเห็นที่ต่ำกว่า ดังนั้น การตัดสินของผู้ชี้ขาดบนเวทีให้คงเดิม และเมื่อผู้ตัดสินข้างเวทีทั้งสองแสดงความเห็นไม่ตรงกับความเห็นของผู้ชี้ขาดบนเวทū

ชุดยูโด







ภาพการแข่งขัน ยูโด




ท่า ยูโด


ระเบียบการแข่งขันยูโด

ระเบียบการแข่งขันยูโด
****************

1. สมาคมยูโดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
นายกสมาคม นายสุรชัย จารุเดชา
เลขาธิการ นายธวัชชัย กาญจนะทวีกุล
สถานที่ติดต่อ 2088 การกีฬาแห่งประเทศไทย
E 230 สนามราชมังคลากีฬาสถาน
หัวหมาก บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์/โทรสาร 0 2369 1514

2. คณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน
ประธานฝ่ายยูโดของจังหวัดเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติ ประธานกรรมการ
ผู้แทนสมาคมยูโดแห่งประเทศไทยฯ รองประธานกรรมการ
ผู้แทนจังหวัดที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันจังหวัดละ 1 คน กรรมการ
บุคคลที่จังหวัดเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติแต่งตั้ง กรรมการ
บุคคลที่จังหวัดเจ้าภาพกีฬาแห่งชาติแต่งตั้ง กรรมการและเลขานุการ

3. ข้อบังคับและกติกาการแข่งขัน
3.1 ให้ใช้ข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 21 ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
3.2 ให้ใช้กติกาการแข่งขันสหพันธ์ยูโดนานาชาติ ฉบับปี 2541 (ค.ศ. 1998)

4. คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมการแข่งขัน
4.1 ให้เป็นไปตามข้อ 19 แห่งข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 21 ว่าด้วยการแข่งขัน
กีฬาแห่งชาติ
4.2 นักกีฬาต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 50 ปี นับถึงปีที่มีการแข่งขัน
4.3 นักกีฬาทีมชาติเข้าร่วมการแข่งขันได้โดยไม่จำกัดจำนวน

5. ประเภทการแข่งขัน
5.1 ประเภทบุคคลชาย 9 รุ่น
5.2 ประเภทบุคคลหญิง 9 รุ่น

6. การแบ่งรุ่นนักกีฬายูโด
6.1 ประเภทบุคคลชาย 9 รุ่น
6.1.1 เอ็กซตร้าไลท์เวท รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 55.00 ก.ก.
6.1.2 ฮาล์ฟไลท์เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 55.00 ก.ก. ถึง 60.00 ก.ก.
6.1.3 ไลท์เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 60.00 ก.ก. ถึง 66.00 ก.ก.
6.1.4 ฮาล์ฟมิดเดิลเวท รุ่นน้ำหนักเกิน 66.00 ก.ก. ถึง 73.00 ก.ก.
6.1.5 มิดเดิลเวท รุ่นน้ำหนักเกิน 73.00 ก.ก. ถึง 81.00 ก.ก.
6.1.6 ฮาล์ฟเฮฟวี่เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 81.00 ก.ก. ถึง 90.00 ก.ก.
6.1.7 เฮฟวี่เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 90.00 ก.ก. ถึง 100.00 ก.ก.
6.1.8 ซุปเปอร์เฮฟวี่เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 100.00 ก.ก. ขึ้นไป
6.1.9 โอเพ่นเวท รุ่นไม่จำกัดน้ำหนัก
6.2 ประเภทบุคคลหญิง 9 รุ่น
6.2.1 เอ็กซตร้าไลท์เวท รุ่นน้ำหนักไม่เกิน 45.00 ก.ก.
6.2.2 ฮาล์ฟไลท์เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 45.00 ก.ก. ถึง 48.00 ก.ก.
6.2.3 ไลท์เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 48.00 ก.ก. ถึง 52.00 ก.ก.
6.2.4 ฮาล์ฟมิดเดิลเวท รุ่นน้ำหนักเกิน 52.00 ก.ก. ถึง 57.00 ก.ก.
6.2.5 มิดเดิลเวท รุ่นน้ำหนักเกิน 57.00 ก.ก. ถึง 63.00 ก.ก.
6.2.6 ฮาล์ฟเฮฟวี่เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 63.00 ก.ก. ถึง 70.00 ก.ก.
6.2.7 เฮฟวี่เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 70.00 ก.ก. ถึง 78.00 ก.ก.
6.2.8 ซุปเปอร์เฮฟวี่เวท รุ่นน้ำหนักเกิน 78.00 ก.ก. ขึ้นไป
6.2.9 โอเพ่นเวท รุ่นไม่จำกัดน้ำหนัก

7. หลักเกณฑ์การคัดเลือกนักกีฬาและผู้ควบคุมทีม เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ
จากระดับภาค 5 ภาค
7.1 หลักเกณฑ์การคัดเลือกนักกีฬา
7.1.1 แต่ละจังหวัดส่งนักกีฬาชาย 9 รุ่น/(9 คน) หญิง 9 รุ่น/(9 คน) เข้าร่วมแข่งขันคัดเลือก
ระดับภาค นักกีฬาเข้าแข่งขันได้เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น
7.1.2 ระดับชาติ ให้ส่งนักกีฬาได้ภาคละไม่เกิน 4 คน/รุ่น รวมเป็น 20 คน ดังนี้
- ภาค 1 นักกีฬา 4 คน/รุ่น
- ภาค 2 นักกีฬา 4 คน/รุ่น
- ภาค 3 นักกีฬา 4 คน/รุ่น
- ภาค 4 นักกีฬา 4 คน/รุ่น
- ภาค 5 นักกีฬา 4 คน/รุ่น

- และนักกีฬาเข้าแข่งขันได้เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ทั้งนี้ ต้องพิจารณาอัตราส่วนนักกีฬาที่เข้า
ร่วมการแข่งขันในระดับภาค ให้อยู่ในดุลยพินิจของสมาคมฯ สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้เป็น
ไปตามความเหมาะสม
7.2 หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ควบคุมทีม
7.2.1 ในระดับจังหวัดที่จะส่งนักกีฬาร่วมการคัดภาคใช้อัตราส่วนนักกีฬา : ผู้ควบคุมทีม (5 :1)
รวมไม่เกิน 3 คน โดยแบ่งเป็น
- ผู้จัดการทีม 1 คน
- ผู้ฝึกสอนทีมชาย และทีมหญิง รวม 2 คน
7.2.2 ในระดับภาคๆ ละ 4 ทีม ใช้อัตราส่วนนักกีฬา : ผู้ควบคุมทีม (5 :1) รวมไม่เกิน 9 คน
- ผู้จัดการทีม 1 คน
- ผู้ฝึกสอนทีมชาย และทีมหญิง รวม 2 คน
- ทั้งนี้ ผู้จัดการทีม 3 คน ให้เลือกจากผู้ควบคุมทีมทุกจังหวัดที่มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน
และส่งรายชื่อเป็นผู้ควบคุมทีมในภาคนั้น ๆ จำนวนผู้ควบคุมทีมสามารถเพิ่มหรือลดได้
แต่ต้องไม่เกิน 9 คน ต่อ 1 ภาค ยกเว้น กรณีที่ผู้ควบคุมทีมมีจำนวนตามที่กำหนด คือ
ภาคละ 9 คน แล้วยังมีจังหวัดที่มีนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน แต่ไม่อยู่ในอัตราส่วนผู้ควบ
คุมทีม เนื่องจากจำนวนนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันน้อย สามารถเพิ่มจำนวนผู้ควบคุม
ทีมได้อีก 1 คน ต่อจังหวัด ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของ กกท.
8. วิธีการจัดการแข่งขัน
ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบ ซิงเกิ้ล เรเปอชาร์จ
8.1 การจับฉลากแบ่งสายและประกบคู่
จะทำการจับฉลากแบ่งสายและประกบคู่ที่จังหวัดเจ้าภาพ ในวันที่เจ้าภาพกำหนดจัดประชุม
ผู้แทนจังหวัดเพื่อจับฉลากแบ่งสาย
8.2 แบ่งออกเป็น 2 สาย คือ สายเอ และ บี
8.3 ผู้ชนะที่ 1 ในสายเอ และ บี จะเป็นคู่ชิงชนะเลิศ
8.4 ผู้ที่แพ้ที่ 1 ในสาย เอ และสาย บี จะทำการแข่งขันในสายล่างเพื่อชิงที่ 3 ( ทั้งสาย เอ และสาย บี )
ในระบบ ซิงเกิ้ล เรเปอชาร์จ
8.5 เวลาการแข่งขัน
- ชาย ทุกรอบทุกยก ๆ ละ 5 นาที
- หญิง ทุกรอบทุกยก ๆ ละ 4 นาที
8.6 กำหนดให้เมื่อเวลาการแข่งขันหมดลง นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่ายไม่มีคะแนนหรือมีผลคะแนนเท่ากัน
จะต้องตัดสินด้วยกฎ โกลเด้นสกอร์ค ( Golden Score Rule )
8.7 ผลการแข่งขันยูโดให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขันสหพันธ์ยูโดนานาชาติ ฉบับปี 2541 (ค.ศ. 1998)




9. ข้อปฏิบัติในการแข่งขัน
9.1 การชั่งน้ำหนัก
9.1.1 การชั่งน้ำหนักจะทำการชั่งน้ำหนักเวลา 17.00 น. - 18.00 น.ก่อนวันแข่งขัน 1 วัน ของ
นักกีฬาที่จะทำการแข่งขัน นักกีฬาจะต้องนำบัตรประจำตัวนักกีฬามาให้กรรมการ
ตรวจสอบด้วย นักกีฬาที่มาชั่งน้ำหนักไม่ทันหรือชั่งน้ำหนักไม่ผ่านถือว่าไม่มีสิทธิ์
เข้าแข่งขัน
9.1.2 เครื่องชั่งน้ำหนักจะมี 3 เครื่อง เครื่องหนึ่งจะอยู่ด้านนอกห้องชั่งน้ำหนักใช้เป็นเครื่องชั่ง
ทดสอบอีก 2 เครื่องที่อยู่ในห้องชั่งน้ำหนักชาย 1 เครื่อง หญิง 1 เครื่อง จะเป็นเครื่องชั่งทางการ
9.1.3 ในการชั่งน้ำหนักให้นักกีฬาชายใส่กางเกงชั้นใน นักกีฬาหญิงใส่กางเกงขาสั้นและ
สวมเสื้อยืดคอกลมแขนสั้น นักกีฬาจะขึ้นชั่งน้ำหนักอย่างเป็นทางการได้เพียงครั้งเดียว
เท่านั้น ไม่มีการถอดชุดเพื่อทำน้ำหนัก ทั้งนักกีฬาชายและหญิง และให้ถอดเครื่องประดับต่าง ๆ ก่อนเข้าทำการชั่งน้ำหนัก
9.1.4 กรรมการชั่งน้ำหนักประกอบด้วย คณะกรรมการจากสมาคมยูโดฯ และเจ้าหน้าที่ฝ่าย
จัดการแข่งขันยูโดของจังหวัด
9.1.5 กรรมการสักขีพยานประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากการกีฬาแห่งประเทศไทยและ
ผู้แทนสมาคมยูโดฯ ทั้งนี้ อยู่ในความควบคุมของสมาคมยูโดแห่งประเทศไทยฯ
9.2 ให้ผู้ควบคุมทีมหรือผู้ฝึกสอนทำการแลกสายแบ่งฝ่ายก่อนจะถึงคู่ของนักกีฬาจะขึ้นทำการ
แข่งขัน 3 คู่
9.3 จะต้องมีผู้ฝึกสอนนั่งประจำที่ผู้ฝึกสอน ที่จัดให้ทุกครั้งที่นักกีฬาในทีมลงทำการแข่งขัน
9.4 ผู้ฝึกสอนที่จะนั่งประจำที่ผู้ฝึกสอนข้างสนามจะต้องแต่งชุดวอร์ม หรือแต่งกายสุภาพ

10. การแต่งกายของนักกีฬา
10.1 เมื่อนักกีฬาผ่านการชั่งน้ำหนักแล้ว ให้นำชุดแข่งขันมาให้กรรมการสมาคมยูโดฯ ตรวจสอบที่โต๊ะ
แลกสาย ในวันที่ทำการแข่งขัน ถ้าไม่ผ่านการตรวจสอบจะต้องเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อยตามที่
ระบุไว้ในกติกาการแข่งขันจึงจะเข้าแข่งขันได้ หากจะมีเครื่องหมายการค้าคำโฆษณา หรือ
สัญลักษณ์อันเป็นการโฆษณาซึ่งมิใช่ชื่อของจังหวัด ภาค จะเป็นที่ประจักษ์เกินกว่า 2x3 นิ้ว
ไม่ได้ นักกีฬาหญิงให้ใส่เสื้อยืดคอกลมแขนสั้นสีขาวไว้ชั้นในห้ามใส่เสื้อยืดสีอื่น
10.2 จังหวัดเจ้าภาพจัดการแข่งขันจะต้องเตรียมชุดยูโดแข่งขันสำรองไว้ กรณีชุดยูโดฉีกขาด
ระหว่างการแข่งขันหรือกรณีที่ประธานฝ่ายเทคนิคของสมาคมยูโดฯ เห็นสมควรให้ใช้
ชุดยูโดดังกล่าว โดยจัดเตรียมไว้จำนวน 8 ชุด เป็นชุดเบอร์ 3, 4, 5 และ 6 อย่างละ 2 ชุด

11. มารยาทของนักกีฬา
ตลอดเวลาการแข่งขัน นักกีฬาทุกคนต้องปฏิบัติตนให้สมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี และต้องประพฤติ
ตามกติกาการแข่งขันทุกประการ หากมีการประพฤติตนไม่เหมาะสมหรือละเมิดต่อกติกาการแข่งขัน
คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะพิจารณาลงโทษตามควรแก่กรณี

12. การประท้วง
การตัดสินของคณะกรรมการผู้ตัดสินถือเป็นเด็ดขาด จะไม่มีการประท้วงด้านการตัดสิน

13. กรรมการผู้ตัดสิน และกรรมการเทคนิค
13.1 ผู้แทนสมาคม 1 คน
13.2 วิทยากร 2 คน
13.3 กรรมการผู้ตัดสิน (จำนวน 1 สนาม) 24 คน
13.4 กรรมการประกาศเรียกนักกีฬา 2 คน
13.5 กรรมการจับเวลาการแข่งขัน 2 คน
13.6 กรรมการจับเวลาล็อค 2 คน
13.7 กรรมการสกอร์บอร์ดมือ 2 คน
13.8 กรรมการบันทึกผลการแข่งขัน 4 คน
13.9 กรรมการจัดลำดับคู่แข่งขันตามโปรแกรม และให้สายแดง/ขาว 6 คน
13.10 กรรมการเดินสะพานสายจัดคู่แข่งขัน 2 คน
13.11 กรรมการชั่งน้ำหนัก 6 คน
13.12 เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารในการแข่งขัน 6 คน
13.13 เจ้าหน้าที่ตรวจชุดและวัดชุดแข่งขัน 2 คน
13.14 เจ้าหน้าที่ประสานงาน 1 คน
13.15 เจ้าหน้าที่เช็ดเบาะ 2 คน

14. รางวัลการแข่งขัน
ให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในข้อบังคับการกีฬาแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 21 ว่าด้วยการแข่งขัน
กีฬาแห่งชาติ
รางวัลที่ 1 เหรียญชุบทอง และประกาศนียบัตร
รางวัลที่ 2 เหรียญชุบเงิน และประกาศนียบัตร
รางวัลที่ 3 เหรียญชุบทองแดง และประกาศนียบัตร
รางวัลที่ 4 ประกาศนียบัตร
รางวัลนักกีฬาดีเด่น (นักกีฬาชาย-หญิง) จะได้รับโล่ห์พร้อมใบประกาศ

15. หลักเกณฑ์การพิจารณานักกีฬาดีเด่น ชาย-หญิง
15.1 เป็นนักกีฬาที่ชนะเลิศในการแข่งขันแต่ละรุ่น
15.2 เป็นนักกีฬาที่มีทักษะและเทคนิคการเล่นที่สูง
15.3 เป็นนักกีฬาที่มีมารยาท และ มีน้ำใจนักกีฬา

ประวัติยูโดในประเทศไทย

ประวัติยูโดในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2450 ชาวญี่ปุ่นชื่อ กิโยฟูจิ (Kiyofuji) ได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยในบริษัทมิตซุบุนเซนโกซา ซึ่งเป็นบริษัทของชาวญี่ปุ่น พร้อมทั้งนำเอาวิชายูยิตสูเข้ามาเผยแพร่ให้แก่ผู้ร่วมงานได้ฝึกฝนกัน โดยมีชาวญี่ปุ่นอีกคนหนึ่งชื่อนายเอนโด เป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ทางยูยิตสูได้เข้าร่วมเป็นผู้ฝึกสอน ทำให้ยูยิตสูเป็นที่นิยมในหมู่คนใกล้ตัวและคนไทยพอสมควร ปี พ.ศ. 2455 หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิรงค์ สวัสดิกุล ได้ทรงศึกษาวิชายูยิตสูมาจากยุโรป เมื่อกลับมารับราชการอยู่ในกระทรวงต่างประเทศ ทรงเห็นว่ายูยิตสูมีประโยชน์ต่อสังคม จึงมีความประสงค์ให้มีการศึกษาวิชานี้ในโรงเรียนต่างๆ เช่นเดียวกับนานาประเทศ

ประวัติยูโดในประเทศไทย

ประวัติยูโดในประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2450 ชาวญี่ปุ่นชื่อ กิโยฟูจิ (Kiyofuji) ได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยในบริษัทมิตซุบุนเซนโกซา ซึ่งเป็นบริษัทของชาวญี่ปุ่น พร้อมทั้งนำเอาวิชายูยิตสูเข้ามาเผยแพร่ให้แก่ผู้ร่วมงานได้ฝึกฝนกัน โดยมีชาวญี่ปุ่นอีกคนหนึ่งชื่อนายเอนโด เป็นทันตแพทย์ที่มีความรู้ทางยูยิตสูได้เข้าร่วมเป็นผู้ฝึกสอน ทำให้ยูยิตสูเป็นที่นิยมในหมู่คนใกล้ตัวและคนไทยพอสมควร ปี พ.ศ. 2455 หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิรงค์ สวัสดิกุล ได้ทรงศึกษาวิชายูยิตสูมาจากยุโรป เมื่อกลับมารับราชการอยู่ในกระทรวงต่างประเทศ ทรงเห็นว่ายูยิตสูมีประโยชน์ต่อสังคม จึงมีความประสงค์ให้มีการศึกษาวิชานี้ในโรงเรียนต่างๆ เช่นเดียวกับนานาประเทศ

ประวัติความเป็นมาของกีฬา Judo

ประวัติความเป็นมาของกีฬา ยูโด(Judo)
ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่ถือกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ปัจจุบันมีผู้นิยมฝึกหัดเล่นกันอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก ยูโดเป็นรูปแบบของการป้องกันตัว เป็นศิลปะส่วนหนึ่งของชาวญี่ปุ่นที่มีการดัดแปลงปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย นอกจากจะเป็นการฝึกเพื่อป้องกันตัวเองแล้วยังเป็นการบริหารร่างกายเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ฝึกสมาธิให้มั่นคง ผู้ฝึกจะได้รับประโยชน์ทั้งด้านร่างกาย และสมาธิด้านจิตใจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจู่โจมคู่ต่อสู้ หรือการตั้งรับ
ยูโดมีชื่อเต็มว่า โคโดกัน ยูโด (Kodokan Judo) เดิมทีเดียวเรียกกันว่า ยูยิตสู (Jiujitsu) ซึ่งเป็นวิชาที่สามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าและเป็นการทำลายจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ ในประเทศญี่ปุ่นมีการเล่นยูยิตสูกันอย่างแพร่หลายมากญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าตนเองมีเชื้อสายมาจากเทพยดา เทพธิดา และเชื่อว่าตนเองเป็นลูกพระอาทิตย์ มีถิ่นที่อยู่บนเกาะใหญ่น้อยทั้งหลาย ราวๆ 3,000-4,000 เกาะ จากการที่อยู่อาศัยบนเกาะต่างๆ นี้เองจึงมีความคิดเห็นไม่ตรงกันและไม่สามารถรวมกลุ่มกันได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ผู้ที่ได้รับชัยชนะก็พยายามซ่องสุมเสริมสร้างกำลังพลให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ผู้ที่พ่ายแพ้ก็พยายามที่จะรวบรวมสมัครพรรคพวกที่พ่ายแพ้ขึ้นใหม่เพื่อรอจังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืนมา
ในสมัยนั้นประเทศญี่ปุ่น มีแต่ความทารุณโหดร้าย นักรบของแต่ละเมืองจะได้รับการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ที่ใช้ในสงครามหลายชนิด และมีความชำนาญมาก เช่น การฟันดาบ การยิงธนู การใช้หอก ทวน หลาว การขี่ม้า และยูยิตสู ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ใช้มือเปล่าในระยะประชิดตัว ไม่สามารถที่จะใช้อาวุธได้ถนัด การต่อสู้แบบยูยิตสูมิได้มุ่งที่จะทำให้คู่ต่อสู้มีอันตรายถึงชีวิต แต่มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่ต่อสู้ได้รับบาดเจ็บและยอมแพ้ ถ้าไม่ยอมแพ้ก็อาจทำให้พิการทุพพลภาพ โดยใช้วิธีจับมือหักข้อต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ในสมัยนั้น นักรบญี่ปุ่นจะต้องฝึกการต่อสู้วิชายูยิตสูทุกคน การฝึกต้องฝึกสมาธิ และฝึกกำลังใจให้บังเกิดความแข็งแรง ร่างกายแข็งแกร่ง ทุกคนจะต้องมีความตั้งใจในการฝึก มิฉะนั้นจะเป็นอันตรายได้ ยูยิตสูไม่มีความเมตตาปราณีใดๆ มิได้คำนึงถึงศีลธรรม จะคอยหาโอกาสซ้ำเติมคู่ต่อสู้ตลอดเวลา จึงทำให้อาจารย์ที่ตั้งสถานที่ฝึกอบรมวิชานี้ พยายามคิดค้นประดิษฐ์ท่าทางกลวิธีแตกต่างกันออกไปอย่างอิสระ สถานที่เปิดฝึกสอนหรือที่เรียกว่าโรงเรียนสำหรับสอนวิชายูยิตสูสมันนั้นมีประมาณ 20 แห่ง
ซูโม่ ถือเป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งของญี่ปุ่นที่แพร่หลาย ซูโม่เป็นการต่อสู้ของคน 2 คน ใช้มือเปล่าและกำลังกายเข้าทำการต่อสู้กันมาแต่สมัยโบราณกว่า 2,500 ปีมาแล้ว นักประวัติศาสตร์ในวิชายูยิตสูได้สนใจซูโม่มาก จากหนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ที่รวบรวมโดย Imperial Command ชื่อนิฮอนโซกิ (Nihon-Sho-Ki)
ในปี พ.ศ. 1263 กล่าวถึงการแข่งขันในสมัยของจักรพรรด์ซุยนิน ก่อนคริสต์ศักราช 230 ปี (พ.ศ. 313) ยืนยันว่าเป็นการเริ่มต้นของวิชาซูโม่ ซึ่งแปลว่าการต่อสู้โดยใช้กำลังเข้าประลองกัน การต่อสู้ตามหลักวิชาซูโม่ บางท่าจะตรงกับวิชายูยิตสู เช่น การใช้สะโพกเป็นกำลังบังคับขากวาดเหวี่ยงคู่ต่อสู้ให้เสียหลักล้มลงซึ่งท่านี้วิชายูยิตสูเรียกว่า ฮาราย กุชิ (Harai Goshi) เป็นการยืนยันว่าวิชาซูโม่มีความสัมพันธ์กับวิชายูยิตสูแน่นอน
การพัฒนาวิชายูยิตสูเป็นวิชายูโด
ตอนปลายสมัย เซนโกกุ (Sengoku) วิชายูยิตสูได้ถูกรวบรวมไว้เป็นแบบแผนอย่างมีระเบียบ โตกูกาวา (Tokugawa) เป็นตระกูลที่ทำการปราบปรามการกระด้างกระเดื่องบรรดาเจ้าผู้ครองนครตามหัวเมืองต่างๆ ให้สงบลงอย่างราบคาบและตั้งตนเป็นมหาอุปราชปกครองประเทศญี่ปุ่น เมื่อบ้านเมืองสงบสุข วิชาการรบของพวกซามูไรที่ได้รับการศึกษาอบรมมาต้องปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสมกับกาลสมัย คือนอกจากการรบแล้ว ซามูไรต้องเรียนหนังสือเพื่อศึกษาวิชาการปกครอง การอบรมจิตใจให้มีศีลธรรม ยูยิตสูเป็นวิชาป้องกันตัวชนิดหนึ่งในสมัยนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงวิธีการต่อสู้จากการไร้ศีลธรรมมาเป็นการป้องกัน การต่อสู้ด้วยกำลังกาย และกำลังใจอันประกอบด้วยคุณธรรม มีจรรยามารยาทที่สุภาพเรียบร้อยขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับสถานยูยิตสู ซึ่งหมายความถึง "ศิลปะแห่งความสุภาพ" จากการที่มีการปรับปรุง และการวางระเบียบ
เกี่ยวกับบทบัญญัติทางศีลธรรมของนักรบให้รัดกุมนี้เอง ทำให้ช่วง 50 ปีของสมัยกาไน บันจิ และคันม่ง (Kanei Banji and Kanmon พ.ศ. 2167-2216) ได้มีผู้เชี่ยวชาญวิชายูยิตสูขึ้นมามากมาย เช่น ไทยยูซึ (Tai juisu) วายูซึ (Wajuisu) เอกิโนยูชิ (Oginaiuchi) โอกูอาชิ (Koguashi) เคนโป (Kinpo) เทนบาริ (Ten Bari) ไทโด (Taido) เป็นต้น ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ทำให้คู่ต่อสู้พ่ายแพ้โดยใช้มือเปล่า ทำให้วิชายูยิตสูเป็นที่นิยมมาตลอดสมัยโตกูกาวา
ต่อมาในสมัยเมจิ (Meji ปี พ.ศ. 2411) อารยธรรมตะวันตกได้หลั่งไหล เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นมาก ทำให้วัฒนธรรมประเพณีของญี่ปุ่นหลายอย่างกลายมาเป็นสิ่งล้าสมัยของต่างชาติ และชาวญี่ปุ่นสมัยใหม่ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2414 จึงได้ออกกฎหมายห้ามนักรบใช้ซามูไรเป็นอาวุธ ห้ามพกหรือสะพายดาบซามูไร ยูยิตสูซึ่งเป็นวิชาที่นิยมเล่นกับซามูไร จึงถูกมองว่าเป็นสิ่งล้าสมัย เพราะทารุณ ป่าเถื่อน ฉะนั้นวิชายูยิตสูจึงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขพร้อมกันหลายอย่างในสมัยเมจิ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ศิลปะการต่อสู้นานาชนิดรวมทั้งยูยิตสูต้องซบเซาลง สถาบันที่เปิดฝึกสอนยูยิตสู ซึ่งมีอยู่แพร่หลายได้รับกระทบกระเทือนถึงกับเลิกกิจการไปก็มีมาก
กำเนิดยูโด
หลังจากที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการต่อสู้ และทำให้วิชายูยิตสูเสื่อมความนิยมลงจนหมดนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2403 ได้มีชาวญี่ปุ่นชื่อ จิโกโร คาโน (Jigoro Kano) ชาวเมืองชิโรโกะ ได้อพยพครอบครัวมาอยู่ในกรุงโตเกียว เมื่อปี พ.ศ. 2414 อายุ 18 ปี ได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยโตเกียว ในสาขาปรัชญาศาสตร์ (Philosophy) จนสำเร็จการศึกษา เมื่ออายุ 23 ปี ท่านจิโกโร คาโน เป็นบุคคลที่มีความเห็นว่าวิชายูยิตสูนอกจากจะเป็นกีฬาสำหรับร่างกายและจิตใจแล้ว ยังมีหลักปรัชญาที่ว่าด้วยหลักแห่งความเป็นจริง อีกทั้งท่านเป็นคนที่มีรูปร่างเล็กผอมบาง มีนิสัยไม่เกรงกลัวใคร
เมื่อได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชายูยิตสูอย่างละเอียด ก็พบว่าผู้ฝึกวิชายูยิตสูจนมีความชำนาญดีแล้ว จะสามารถสู้กับคนที่รูปร่างใหญ่โตได้ หรือสู้กับความที่มีอาวุธด้วยมือเปล่าได้ จากการค้นพบทำให้บังเกิดความศรัทธาอย่างแรงกล้า ท่านจึงได้เข้าศึกษายูยิตสูอย่างจริงจังจากอาจารย์ผู้สอนวิชายูยิตสูหลายท่านจากโรงเรียนเทนจิ ซิโย (Tenjin Shinyo) และโรงเรียนคิโต (Kito)
ปี พ.ศ. 2425 ท่านจิโกโร คาโน อายุได้ 29 ปี ได้ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับวิชายูโดขึ้นเป็นครั้งแรกในบริเวณวัดพุทธศาสนา ชื่อวัดอิโชจิ (Eishoji) โดยตั้งชื่อสถาบันนี้ว่า โคโดกัน ยูโด โดยได้นำเอาศิลปะของการต่อสู้ด้วยการทุ่มจากสำนักเทนจิ ซิโย และการต่อสู้จากสำนักคิโตเข้ามาผสมผสานเป็นวิชายูโดและได้ปรับปรุงวิธีการยูโดให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเปลี่ยแปลงในระบอบการปกครองและสังคมในขณะนั้น ได้สอดแทรกวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ คณิตศาสตร์ประยุกต์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว จิตศาสตร์ และจริยศาสตร์เข้าด้วยกัน โดยได้ตัดทอนยูยิตสู ซึ่งไม่เหมาะสมออก แล้วพยายามรวบรวมวิชายูยิตสูให้เป็นหมวดหมู่มีมาตรฐานเดียวกันตามความคิดของท่าน และได้ตั้งระบบใหม่เรียกว่า ยูโด (Judo)
ในเริ่มแรก ท่านจิโกโร คาโน ต้องต่อสู้กับอุปสรรคจากบุคคลหลายๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการยอมรับในวิชายูโด โดยเฉพาะจากบุคคลที่นิยมอารยธรรมตะวันตกบุคคลพวกนี้ไม่ยอมรับว่ายูโดเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ และดีกว่ายูยิตสู ในปี พ.ศ. 2429 กรมตำรวจญี่ปุ่นได้จัดการแข่งขันระหว่างยูโดกับยูยิตสูขึ้น โดยแบ่งเป็นฝ่ายละ 15 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่ายูโดชนะ 13 คน เสมอ 2 คน เมื่อผลปรากฏเช่นนี้ ทำให้ประชาชนเริ่มสนใจยูโดมากขึ้น ทำให้สถานที่สอนเดิมคับแคบจึงต้องมีการขยายห้องเรียน เพื่อต้อนรับผู้ที่สนใจ จนปี พ.ศ. 2476 จึงได้ย้ายสถานที่ฝึกไปที่ซูอิโดบาชิ (Suidobashi) และสถานที่นี้เองที่เป็นศูนย์กลางของนักยูโดในโลกปัจจุบัน
ยูโดดำเนินการไปด้วยดีและเริ่มมีมาตรฐานอันสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2465 ได้ตั้ง The Kodokun Cultural Xociety ขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2455 ได้ก่อตั้งสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศขึ้น โดยมีประเทศต่างๆ ที่ร่วมก่อตั้งครั้งแรกประมาณ 20 ประเทศ
ในปี พ.ศ. 2499 สหพันธ์ยูโดระหว่างชาติได้จัดให้มีการแข่งขันเพื่อความชนะเลิศยูโดระหว่างชาติขึ้น โดยอยู่ในการอำนวยการของสหพันธ์ยูโดระหว่างประเทศโดโดกัน และหนังสือพิมพ์อาซาอิซัมบุน ซึ่งทั้ง 2 องค์กรช่วยกันจัดการแข่งขันขึ้นมา

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Web Blog กีฬา โดย นายชาตรี จริตงาม

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Web Blog กีฬา โดย นายชาตรี จริตงาม